พลังของพ่อค้าคนกลางในระบบการค้าแบบ ESG
“การขายของ” เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค แต่ด้วยความใหญ่โตของสังคมที่มีความซับซ้อน และมีการบริโภคที่กว้างไกล ทำให้เกิดกระบวนการค้าขายที่มีมากกว่าผู้ผลิตและผู้บริโภค ได้แก่ การเกิดขึ้นของบทบาทผู้ให้บริการทางการขาย และการขนส่ง ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างการแลกเปลี่ยนสินค้าและค่าใช้จ่าย เป็นการบริการที่เราคุ้นเคยกับคำว่า “พ่อค้าคนกลาง” และยิ่งเส้นทางการส่งสินค้านั้นยาวไกล หรือมีขั้นตอนและการจัดการที่ซับซ้อนมากขึ้นเท่าไหร่ พ่อค้าคนกลางจะยิ่งมีมากขึ้น และแน่นอนว่าทุกอาชีพจะต้องการค่าตอบแทนซึ่งมาจากการบริการจัดหา จัดส่ง เสนอขาย ดูแลสินค้าจนถึงมือผู้บริโภค ทำให้สินค้ามีราคาที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ จึงไม่สามารถรักษาระดับราคาสินค้าให้คงที่เท่ากับราคาสินค้าจากผู้ผลิตได้ การสร้างรายได้ของ “พ่อค้าคนกลาง” ก็ไม่ต่างจากผู้ลงทุน (Trader) ในการอาศัยส่วนต่างทางการเงินในการสร้างผลกำไร พ่อค้าคนกลางสร้างรายได้จากความต่างของราคาสินค้าจากผู้ผลิตและราคาขายให้กับลูกค้า ดังนั้น ค่าตอบแทนที่จะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับการกดราคาผู้ผลิต และการเพิ่มราคาสินค้ากับผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคต้องแบกรับภาระราคาสินค้าราคาสูง และด้านผู้ผลิต กระบวนการนี้ทักจะทำให้เกิดการแข่งขันกันในการลดต้นทุนการผลิต จนทำให้สินค้าคุณภาพแย่ลงหรือต้องอาศัยการผลิตจำนวนมาก ……นั่นทำให้ “พ่อค้าคนกลาง” กลายเป็นผู้ร้ายที่มีอำนาจในตลาดและคอยเอาเปรียบคนอื่นทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ โดยอาศัยความเชี่ยวชาญจากการล่วงรู้ข้อมูลในการผลิตและปกปิดข้อมูลบางส่วนเพื่อการค้า จึงไม่แปลกว่า อาชีพค้าขายออนไลน์แบบซื้อมาขายไป จึงเป็นอาชีพที่ทำรายได้สูงและเป็นที่นิยมของกลุ่มคนยุคใหม่ที่อยากมีธุรกิจเป็นของตนเอง ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนของกลไกของ “พ่อค้าคนกลาง” นั่นคือ “ผลผลิตทางการเกษตร” ที่ต้องเห็นเกษตรกรออกมาเทผลไม้ทิ้งเพื่อประท้วงราคาตก แต่ราคาผลไม้ในตลาดยังคงมีราคาสูงอยู่เสมอไม่เป็นไปตามอุปทาน ส่วนอุปสงค์ที่จะซื้อสินค้าในฤดูกาลกลับสูงมากแม้จะมีผลผลิตล้นตลาดก็ตาม ในอีกมุมหนึ่ง ชนิดหรือพันธุ์ที่ถูกนำมาขายก็มีเพียงไม่กี่ชนิด จากการสำรวจตลาดพบว่า ความหลากหลายของผักที่นำมาใช้ประกอบอาหารมีประมาณ 40%…