การจารกรรมข้อมูล หรือ espionage เป็นวิธีการที่รัฐบาลต่าง ๆ หรือตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (non-state actor) ดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อมูลหรือข่าวสารเกี่ยวกับประเด็นสำคัญของฝ่ายตรงข้าม โดยที่ฝ่ายตรงข้ามหรือเป้าหมายที่ถูกจารกรรมนั้นตรวจสอบไม่ได้ หรือไม่รู้ตัว ที่ผ่านมา การจารกรรมข้อมูลมีวิธีการที่หลากหลาย และในปัจจุบันก็มีการจารกรรมข้อมูลผ่านเทคโนโลยีหรือด้วยเครื่องมือในโลกไซเบอร์ด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเทคโนโลยีหรือข้อมูลสำคัญในปัจจุบันจะไหลผ่านโลกไซเบอร์มากแค่ไหน การจารกรรมในรูปแบบดั้งเดิมด้วยวิธีการตั้งแต่ปฏิบัติการลับในต่างประเทศ มีองค์การบังหน้า มีการปกปิดการดำเนินการทั้งในโลกจริงและโลกไซเบอร์ รวมทั้งมีการสร้างบุคลากรและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจารกรรมข้อมูลไปพร้อม ๆ กับระมัดระวังไม่ให้ประเทศเป้าหมายตรวจสอบได้ ยังคงเป็นแนวทางที่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ใช้เพื่อให้ได้ “ข้อมูลข่าวสาร” ที่ถือว่าเป็น 1 ในปัจจัยสร้างพลังอำนาจ และความได้เปรียบในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ นั่นเอง ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ประเทศจีน ซึ่งเป็นมหาอำนาจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ได้เพิ่มความระมัดระวังและตรวจสอบความเคลื่อนไหวของประเทศอื่น ๆ ที่อาจจะไปทำการจารกรรมข้อมูลในจีนอย่างเข้มข้นมากขึ้น เพราะเมื่อปลายปี 2565 จีนได้เปิดประเทศให้การลงทุน การสานความสัมพันธ์ และปรับภาพลักษณ์จีนให้นานาชาติเข้าถึงและเข้าใจจีนมากขึ้น จีนจึงเปิดรับต่างชาติเข้าไปทำงานและดำเนินธุรกิจในจีนจำนวนมาก และมีสถิติเพิ่มขึ้นทุกปี จีนได้รับประโยชน์จากการที่บริษัทต่างชาติเข้าไปดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการพัฒนาในประเทศ แต่ในระยะหลัง ๆ รัฐบาลจีนเริ่มสังเกตว่า การดำเนินกิจกรรมบางอย่างในจีน โดยหน่วยงานหรือองค์กรใหม่ ๆ…