“Digital Footprint” ร่องรอยดิจิทัลที่ไม่เลือนหาย กับกระบวนการสรรหาคัดเลือกบุคลากรสู่องค์กร
ในโลกยุคดิจิทัลที่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว หลายสิ่งหลายอย่างถูกขับเคลื่อนผ่านโลกออนไลน์ โซเชียลมีเดียเป็นที่แพร่หลาย ทุกองค์กรมีเว็บไซต์ของตนเอง มีหน้าเพจของตนเอง พนักงานทุกคนมีแอคเคาท์ต่าง ๆ เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Facebook, TikTok, Instagram, Twitter หรือแพลตฟอร์มอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาในข้างต้น การท่องไปบนโลกออนไลน์เพียงปลายนิ้วสัมผัสไม่ว่าจะแพลตฟอร์มใดหรือไปในรูปแบบไหนก็ตาม เราได้ทิ้งสิ่งที่เรียกว่า “Digital Footprint” คือร่องรอยแห่งการทำสิ่งต่าง ๆ บนโลกดิจิทัลเอาไว้ทุกครั้ง และได้ทิ้งเอาไว้ทุกคน เปรียบเสมือนประวัติทางพฤติกรรมที่ผู้ใช้งานกระทำในโลกอินเทอร์เน็ต ที่เผยตัวตนของคุณให้ผู้อื่นบนโลกออนไลน์ได้รับรู้ เมื่อจำแนก “Digital Footprint” หรือร่องรอยดิจิทัล เราจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1)ร่องรอยดิจิทัลแบบไม่รู้ตัว (Passive Digital Footprint) เป็นประวัติหรือสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ที่ผู้ใช้งานไม่ได้ตั้งใจที่จะทิ้งไว้ หรือ ไม่ได้ต้องการจะให้คนอื่นรับรู้ แต่ยังคงถูกบันทึกเก็บเป็นประวัติบนออนไลน์ไว้ เช่น เวลาใช้งานอินเทอร์เน็ตหรือคอมพิวเตอร์ที่จะมีรหัสประจำตัวในการใช้งาน (IP address) ซึ่งเมื่อเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือค้นหาบริการอะไร จะมีประวัติการค้นหาต่าง ๆ ถูกเก็บบันทึกไว้อยู่ ทำให้ถูกติดตาม หรือระบุตัวตนคนใช้งานได้ ซึ่งหลายๆครั้งก็จะโดนนักการตลาดนำข้อมูลไปใช้เพื่อทำการโฆษณาต่อไปอีกด้วย และ…