The Intelligence Weekly Review 09/06/2024
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
นาย Kenji Okamura รองผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund-IMF) แถลงในการประชุมนโยบายการคลังและหนี้สาธารณะของ IMF เมื่อ 7 มิ.ย.67 ว่าระดับหนี้สาธารณะของประเทศต่างๆทั่วโลกหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากการดำเนินนโนบายการคลังเพื่อช่วยเหลือครัวเรือนและธุรกิจในห้วงดังกล่าว และมีแนวโน้มที่หนี้สาธารณะทั่วโลกจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงร้อยละ 100 ของ GDP ภายในปี 2572 โดยสหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น จะเป็นประเทศที่มีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงที่สุดในโลกเกินร้อยละ 100 ในปี 2571 นอกจากนี้ รองผู้อำนวยการ IMF ระบุด้วยว่าระดับหนี้สาธารณะที่สูงขึ้นจะลดประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ในอนาคต เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ
หนังสือพิมพ์ Khmer Times รายงานอ้างถ้อยแถลงของสมเด็จฯ ฮุน มาแนต เมื่อ 6 มิ.ย.67 ว่ากัมพูชากำหนดวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างโครงการคลองฟูนัน-เตโช ใน 5 ส.ค.67 (วันคล้ายวันเกิดของสมเด็จฯ ฮุน เซน บิดา) พร้อมกับขอให้ประชาชนไม่หลงเชื่อคำยุยงปลุกปั่นของนักการเมืองฝ่ายค้าน และสนับสนุนโครงการดังกล่าวที่พัฒนาเพื่อประโยชน์ของประะชาชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งไม่ซื้อที่ดินรอบโครงการเพื่อเก็งกำไร ทั้งนี้ โครงการคลองฟูนัน-เตโชจะเป็นการร่วมทุนระหว่างกัมพูชากับต่างประเทศ สัดส่วน 51 : 49 และคาดจะมีบ้านเรือนประชาชนถูกเวนคืนอย่างน้อย 2,000 ครัวเรือน โดยคลองมีระยะทาง 180 กิโลเมตร กว้าง 80 – 100 เมตร ลึก 5.4 เมตร (ความลึกเดินเรือ 4.7 เมตร และระยะปลอดภัย 0.7 เมตร) มีช่องทางเดินเรือ 2 ช่องทาง เขื่อนกั้นน้ำ 3 เขื่อน สะพาน 11 แห่ง…
สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานเมื่อ 6 มิ.ย.67 ว่า สหรัฐฯ เตรียมยกระดับมาตรการคว่ำบาตรทางการเงินต่อกลุ่ม Houthi เพื่อระงับการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ใช้สนับสนุนปฏิบัติการโจมตีเรือในทะเลแดงซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ พ.ย.66 หลังปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ ม.ค.67 ไม่สามารถยุติการโจมตีของกลุ่ม Houthi ได้ อย่างไรก็ดี มาตรการคว่ำบาตรดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการสันติภาพในเยเมนตามแนวทางของสหประชาชาติ และอาจเป็นชนวนให้การสู้รบระหว่างกลุ่มการเมืองในเยเมนปะทุขึ้นอีกครั้ง โดยสหรัฐฯ เห็นว่าปฏิบัติการโจมตีเรือในทะเลแดงของกลุ่ม Houthi ส่งผลให้การเจรจาสันติภาพในเยเมนไม่คืบหน้า ขณะที่สำนักงานผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติประจำเยเมน (Office of the Special Envoy of the Secretary-General for Yemen-OSESGY) ห่วงกังวลว่าปฏิบัติการโจมตีเรือในทะเลแดงของกลุ่ม Houthi และมาตรการตอบโต้ปฏิบัติการดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อกระบวนการสันติภาพในเยเมน ทั้งนี้ ธนาคารกลางเยเมน (ควบคุมโดยรัฐบาลเยเมนที่นครเอเดน ซึ่งสนับสนุนโดยซาอุดีอาระเบีย) ยุติการทำธุรกรรมธนาคารในพื้นที่ควบคุมของกลุ่ม Houthi รวมถึงกรุงซานอา เมื่อ 30 พ.ค.67 โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องระบบการเงินของประเทศ หลังสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีกลุ่ม Houthi เป็นกลุ่มก่อการร้ายสากล…
กระทรวงการต่างประเทศแคนาดาแถลงเมื่อ 6 มิ.ย.67 ว่าแคนาดามีแผนปิดสำนักงานผู้แทนแคนาดา ประจำเมืองเออร์บิล เขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถานของอิรัก พร้อมกับลดจำนวนนักการทูตในอิรักและจอร์แดนภายในมี.ค.68 ตามการปรับเปลี่ยนยุทธศาตร์ด้านตะวันออกกลางให้สอดคล้องกับการจัดสรรงบประมาณ โดยก่อนหน้านี้ แคนาดาเพิ่มบทบาททางการทูตในอิรักเพื่อขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับเขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถาน รวมทั้งภารกิจการปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายเช่นเดียวกับสหรัฐฯ
สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนสร้างปรากฏการณ์ต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกีของยูเครนใช้การสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ทรงพลังแสวงประโยชน์แห่งยุคสมัยได้อย่างดี หลังจากเราได้เห็นการทดลองใช้โดรนและประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence-AI) ในปฏิบัติการทางทหารมากมายในห้วงเวลา 2 ปีกว่า โดยอีกหนึ่งปรากฏการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2567 คือการที่นาย Dmytro Kuleba โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของยูเครน แถลงเปิดตัวนาง Victoria Shi โฆษกประจำกิจการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศยูเครน ที่สร้างมาจาก AI เพื่อใช้ในการสื่อสารต่อสาธารณะ ประหยัดเวลาให้กับนักการทูตที่เป็นมนุษย์จะได้มีเวลาไปทำเรื่องที่สำคัญและซับซ้อนมากขึ้น อย่างไรก็ดี ในส่วนของแถลงการณ์หรือการตอบคำถามสำคัญอ่อนไหวมนุษย์จะยังคงอยู่เบื้องหลังการผลิตและกลั่นกรองเนื้อหาอยู่ โดย AI ตัวแรกนี้เป็นผลงานร่วมกันระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของยูเครน กับทีมงานของ The Game Changers องค์กรไม่แสวงกำไร และบริษัท Nazovni Tech ของยูเครน ความน่าสนใจของปรากฏการณ์นี้มีอย่างน้อย 4 มุม …มุมแรก…
เมื่ออากาศที่ร้อนจัดระดับ 40 – 50 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นความร้อนที่กลายเป็นความท้าทายด้านสุขภาพครั้งใหญ่ของโลกรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตอาจจะกลายเป็นปกติของฤดูร้อนไปแล้ว แต่ก็ช่วยตอกย้ำว่าเรากำลังเดินหน้าไปสู่จุดที่อาจร้อนเกินกว่ามนุษย์จะอาศัยอยู่ได้…… และนั่นถือเป็นคำเตือนว่าเราคงจะหนีไม่พ้นถึงความรุนแรงของสภาพอากาศที่สุดขั้วมากยิ่งขึ้น หลายเมืองจึงเริ่มตั้งคำถามว่า “จะปกป้องผู้คนจากความร้อนที่คาดว่าจะเลวร้ายยิ่งกว่านี้ได้อย่างไร” กับ..มีเมืองหนึ่งที่ก้าวหน้าเป็นอย่างมากในการต่อสู้กับความร้อน เมืองนั้นคือ “สิงค์โปร์” ประเทศที่อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรเพียง 137 กิโลเมตร เท่านั้น ทำให้เป็นเมืองที่ร้อนชื้นเกือบตลอดทั้งปี อีกทั้งยังต้องเจอกับความร้อนจากปรากฎการณ์เกาะความร้อนในเมือง (Urban Heat Island) ทำให้อากาศที่ร้อนอยู่แล้วยิ่งร้อนขึ้นไปอีก……. ………. แต่เหตุใดสิงคโปร์จึงสามารถพลิกเมืองร้อนให้กลายเป็นเมืองที่เย็นได้ ซึ่งอาจจะเป็นโมเดลให้ประเทศอื่นเดินตาม!! ความท้าทายที่สิงคโปร์เผชิญนี้ ก่อเกิดเป็นโครงการ “Cooling Singapore Project” ระยะแรกของโครงการทีมนักวิจัยได้ค้นพบถึง 86 วิธีในการลดอุณหภูมิ โดยวิธีที่สิงคโปร์ทำไปบ้างแล้วและเป็นวิธีที่เรียบง่ายคือการทาสีหลังคาด้วยสีขาว เพื่อสะท้อนความร้อนจากดวงอาทิตย์ วิธีนี้ลดอุณหภูมิโดยรอบอาคารได้ถึง 2 องศาเซลเซียส หรือวิธีการออกแบบอาคารใหม่ให้สอดคล้อง รับกับธรรมชาติโดยคำนึงถึงการถ่ายเทของลม เช่น อาคาร…