AI เปลี่ยนโลกศิลปะ และปรัชญามนุษยนิยม
การใช้ความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะเป็นประเด็นถกเถียงสำคัญทั้งในมิติความมั่นคงแรงงาน จิตวิญญาณ และท้าทายระดับการรับรู้ถึงสุนทรียศาสตร์ของมนุษย์!! การถกแถลงกันระหว่างผู้ที่นิยมใช้ผลงานจากเทคโนโลยี AI เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตกับผู้ที่ยืนยันการให้คุณค่ากับผลงานที่มาจากการสร้างสรรค์ด้วยน้ำมือของมนุษย์มากกว่ายังเป็นประเด็นให้พูดคุยกันได้ไม่รู้จบ .. บทความเรื่องนี้ขอหยิบยกส่วนหนึ่งของความเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ (new-movement) ที่เกิดจากชุมชนคนใช้ AI เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีมูลค่าและเป็นที่ต้องการในตลาด จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ Art in Flux หรือความลื่นไหลทางศิลปะนั่นเอง มาลองไล่เรียงดูว่าเกิดอะไรขึ้นในวงการศิลปะที่เปลี่ยนแปลงจากน้ำมือมนุษย์ไปสู่ยุคดิจิทัล ย้อนกลับไปเมื่อ 54,000 ปีก่อน… มนุษย์เริ่มสร้างสรรค์สิ่งที่พบเห็นลงบนฝาผนังถ้ำ เพื่อที่จะถ่ายทอดจินตนาการของตนเองไปสู่บุคคลอื่น กระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยความสร้างสรรค์นี้ เรียกว่า “ศิลปะ” จนถึงปัจจุบัน “ศิลปะ” ยังคงทำหน้าที่ในการสะท้อนความคิด อารมณ์ ที่สื่อสารออกมาจากศิลปินที่มีเป้าหมายต้องการสร้างการรับรู้หรือรู้สึก และคุณค่าให้กับผู้ชมผ่านหลายแบบ ไม่ว่าจะใช้หินสีจากธรรมชาติระบายผนังถ้ำหรือโบสถ์ การระบายสีน้ำด้วยพู่กันลงบนผืนผ้าใบ การใช้สีน้ำมันหรือสีอะคริลิกกับพื้นผิวต่าง ๆ การพ่นสีสเปรย์ลงบนผนัง …วิธีการเหล่านี้ต่างก็ต้องอาศัยการใช้ทักษะ วัสดุอุปกรณ์ และการฝึกฝนจนชำนาญ ศิลปินต้องฝึกฝนเพื่อให้ผู้ชมได้รับชมผลงานพร้อมมีอรรถรสอย่างเต็มเปี่ยม แต่เมื่อยุคสมัย“เทคโนโลยีสารสนเทศ” คนส่วนใหญ่ใช้เวลาชื่นชมชิ้นงานบนผนังน้อยลง และก้มหน้าสู่จอโทรศัพท์มากขึ้น ทำให้ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะบางส่วนมองว่าพวกเขาต้องเปลี่ยนการนำเสนอผลงานแบบ “ดิจิทัล”..นั่นคือการเกิดขึ้นของ “ศิลปะดิจิทัล” หรือ Digital Art ที่ใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเลต และซอฟต์แวร์…ที่จริงแล้ว…