The Intelligence Weekly Review 30/06/2024
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
อิสราเอลโจมตีฉนวนกาซาอย่างต่อเนื่อง และทั่วพื้นที่ โดยเฉพาะตอนเหนือ ที่กองทัพอิสราเอลเชื่อว่าเป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้ายและผู้สนับสนุน การเดินหน้าทำสงครามในฉนวนกาซา ตอกย้ำว่าอิสราเอลจะยังไม่ยุติปฏิบัติการทหารจนกว่าจะกวาดล้างกลุ่มฮะมาส และเป็นไปตามที่ นรม.อิสราเอลประกาศเมื่อ 23 มิ.ย.67 ว่าการสู้รบในฉนวนกาซากำลังจะเข้าสู่ขั้นตอนที่รุนแรง (intense phase) ซึ่งคาดว่าจะเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานานและสร้างความเสียหายระยะยาวต่อพื้นที่
การประชุมสุดยอดของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจชั้นนำของโลกหรือ G7 เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 13-15 มิถุนายน 2567 ที่เมืองอาปูเลียของอิตาลี ผลการประชุมของกลุ่ม G7 ที่ผ่านมามักจะมีประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อทิศทางการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาของโลก เนื่องจากกลุ่มประกอบด้วยประเทศสมาชิกที่เป็นมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจทั้งจากภูมิภาคอเมริกา ยุโรป และเอเชีย ซึ่งจะส่งผู้นำไปรวมตัวกันเพื่อพูดคุยประเด็นโอกาสและความท้าทายในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาในต่างประเทศ ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินนโยบายของ G7 ต่อไป จากจุดเริ่มต้นของ G7 ที่รวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการเมื่อช่วงที่โลกเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจและพลังงานในปี 2516 ปัจจุบัน G7 ยังคงเป็นการรวมตัวของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญแม้ว่าจะมีกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นตามมา หรือจะมีการขยายกรอบการพูดคุยไปเป็น G20 แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้อิทธิฤทธิ์ของ G7 น้อยลง เพราะแต่ละสมาชิกยังมีอำนาจทางเศรษฐกิจ และมี GDP รวมกันคิดเป็นร้อยละ 25.8 ของโลก โดยสมาชิกของ G7 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี…
ท่ามกลางกระแสข่าวการแย่งตัวคนเก่ง (Talent) มาร่วมงานทั้งระดับประเทศและองค์กร พร้อม ๆ กับกระแสสุดฮิตที่ว่าทุกองค์กรต้องปรับตัวให้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัลและต้องนำเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง AI หุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และเทคโนโลยีอัจฉริยะมาใช้งาน เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันที่เราได้ยินกันแทบทุกวัน……ก็ปรากฏรายงานข่าวในจีนที่น่าสนใจข่าวหนึ่งคือ ปัจจุบันนักศึกษาจีนระดับมหาวิทยาลัยกลับเข้าไปเรียนสายอาชีวะเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุผลที่ว่าเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างโอกาสให้ตัวเองเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับตลาดแรงงาน ที่ไม่เพียงมีความรู้ในสายวิชาการ แต่ยังมีประสบการณ์ที่พร้อมทำงานจากการฝึกงาน เมื่อพูดถึงระบบการศึกษา ปฏิเสธไม่ได้ว่าสายหลักที่หลายประเทศปักหมุดไว้คือสายสามัญ เพื่อเป็นหนทางในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นช่องทางหลักในการสร้างหลักประกันทางอาชีพในอนาคต ทั้งการเข้าถึงโอกาสในการได้งานและการได้รับการยอมรับทางสังคม โดยการให้ค่าหลักสูตรสายสามัญเหนือกว่าหลักสูตรอื่น…ส่งผลให้การเรียนสายอาชีวะไม่เป็นที่นิยม และผู้เรียนก็มักจะมีภาพลักษณ์เป็นรองในด้านวิชาการ เมื่อเรียนจบส่วนใหญ่ก็เป็นพนักงานระดับปฏิบัติหรือใช้แรงงาน (Blue-collar) มากกว่าจะเป็นพนักงานออฟฟิศ (White-collar) …ซึ่งจีนก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีค่านิยมทำนองนี้เช่นกัน ………..แต่ที่น่าสนใจคือ รายงานเรื่อง “2024 Blue-collar Talent Development Report” ที่เผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มจัดหางาน Zhaopin ของจีน ระบุว่า ปัจจุบันมีความต้องการตำแหน่งงาน Blue-collar ในจีนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสายเทคนิค ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้ค่าแรงปรับขึ้นในทิศทางเดียวกัน เฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีทักษะสูงตรงตามที่ตลาดต้องการก็ยิ่งได้ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี…
อเมริกามีมุมมองอย่างไรต่อปัญหาค้ามนุษย์ทั่วโลก …รวมทั้งในไทย!! ติดตามได้ใน Podcast ตอนที่ 159 ที่จะย่อยรายงาน TIP Report ประจำปีนี้ ให้ได้เข้าใจแนวคิดของสหรัฐฯ และรู้วิธีปรับใช้ข้อเสนอเพื่อให้เป็นประโยชน์ #สหรัฐอเมริกา #ค้ามนุษย์ #ไทย #TIPreport2024 #อาชญากรรม #เทคโนโลยี
ภูมิภาคฮอกไกโดกำลังจะเป็นพื้นที่เสี่ยงทำให้ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-รัสเซียตึงเครียดขึ้นในกรกฎาคมนี้!!… เพราะจะมีการฝึกทหารร่วม…ที่ทำให้รัสเซียต้องกังวล และระแวงว่าญี่ปุ่นจะสร้างเนโตแห่งเอเชีย เรื่องราวจะเป็นยังไงต่อไป ติดตามได้ใน Podcast ตอนที่ 158 #ญี่ปุ่น #รัสเซีย #ฮอกไกโด #ซ้อมรบ #เนโต #เอเชียตะวันออก
สำนักข่าว AKP ของทางการกัมพูชา รายงานเมื่อ 27 มิ.ย.67 ว่า นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย เยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการในวันเดียวกัน และเยี่ยมคารวะสมเด็จฯ ฮุน เซน ประธานวุฒิสภา สมเด็จฯ ฮุน มาแนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา และหารือทวิภาคีกับนายซก จินดาซอเพีย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา โดยทั้งสองฝ่ายชื่นชมความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ผ่านมา เฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) หารือแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว ความมั่นคงทางพลังงาน การแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน รวมถึงการเปิดสถานกงสุลไทย/เสียมราฐ และสถานกงสุลกัมพูชา/สงขลา ในโอกาสครบรอบการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตทวิภาคีครบ 75 ปีในปี 2568 โอกาสนี้ กัมพูชาขอบคุณรัฐบาลไทยที่ผ่อนผันให้แรงงานกัมพูชาเดินทางข้ามแดนโดยไม่ต้องยื่นคำขออนุญาตกลับเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อห้วง 1 เม.ย.-15 พ.ค.67 ขอให้ไทยส่งเสริมนักลงทุนเข้าลงทุนในกัมพูชาเพิ่มขึ้น พร้อมย้ำจุดยืนไม่ให้บุคคลหรือกลุ่มใดใช้ดินแดนแต่ละฝ่ายเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลซึ่งกันและกัน
รอบรั้วอาคเนย์ Intelligence Report by NIA ฉบับปักษ์แรกเดือน มิถุนายน 2567
รายงานสถานการณ์และบทบาทของผู้นำที่น่าสนใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมประเมินแนวโน้ม
Global Gaze ปักษ์หลัง มิ.ย.67 รายงานสถานการณ์และบทบาทของผู้นำที่น่าสนใจรอบโลกพร้อมประเมินแนวโน้ม
สำนักข่าว Focus Taiwan รายงานเมื่อ 27 มิ.ย.67 ว่า คณะกรรมการกิจการจีนแผ่นดินใหญ่ของไต้หวัน (Mainland Affairs Council-MAC) ยกระดับการแจ้งเตือนประชาชนในการเดินทางไปยังจีน ฮ่องกง และมาเก๊า เป็นระดับสีเหลืองเป็นสีส้ม (สีแดงเป็นระดับสูงสุด) หรือหลีกเลี่ยงการเดินทางหากไม่จําเป็น การตัดสินใจดังกล่าวเป็นผลจากการที่จีน ฮ่องกง และมาเก๊า แก้ไขและบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงของชาติในห้วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประกอบกับแนวปฏิบัติทางกฎหมายฉบับใหม่ของจีนที่มุ่งเป้าหมายผู้สนับสนุนการเรียกร้องเอกราชของไต้หวัน ซึ่งอาจเป็นคุกคามความปลอดภัยของพลเมืองไต้หวันอย่างร้ายแรงหากเดินทางไปยังพื้นที่ดังกล่าว โดยที่ผ่านมาพบหลายกรณีที่ชาวไต้หวันถูกควบคุมตัว จับกุม และสอบปากคำอย่างผิดกฎหมายในจีน โฆษก MAC ย้ำว่า การแจ้งเตือนดังกล่าวไม่ใช่มาตรการตอบโต้ต่อจีน และไม่ใช่การห้ามประชาชนเดินทางไปยังจุดหมายข้างต้น แต่หากมีความจำเป็นต้องเดินทางให้เลี่ยงการพูดคุยประเด็นอ่อนไหว การถ่ายรูปท่าเรือ สนามบิน สถานที่ฝึกซ้อมทางทหาร รวมถึงไม่นำหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ประวัติศาสตร์ และศาสนาติดตัวไปยังจีนด้วย