รอบรั้วอาคเนย์ ปักษ์แรก ก.พ.68
รอบรั้วอาคเนย์ Intelligence Report by NIA ฉบับปักษ์แรก กุมภาพันธ์ 2568
รายงานสถานการณ์และบทบาทของผู้นำที่น่าสนใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมประเมินแนวโน้ม
รอบรั้วอาคเนย์ Intelligence Report by NIA ฉบับปักษ์แรก กุมภาพันธ์ 2568
รายงานสถานการณ์และบทบาทของผู้นำที่น่าสนใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมประเมินแนวโน้ม
Global Gaze ปักษ์แรกเดือนกุมภาพันธ์ 2568 รายงานสถานการณ์และบทบาทของผู้นำที่น่าสนใจรอบโลกพร้อมประเมินแนวโน้ม
เมื่อสหภาพยุโรป (EU) ต้องการมีบทบาทนำในโลกเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยออกมาตรการสำคัญ หนึ่งในนั้นคือ การประกาศใช้กฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทําลายป่า (EU Deforestation-free Products Regulation : EUDR) นำร่องในสินค้า 7 กลุ่ม ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลิตภัณฑ์วัว ไม้ กาแฟ โกโก้ และถั่วเหลือง จะมีผลบังคับใช้ใน 30 ธ.ค.68 ส่งผลต่อการนำเข้าและส่งออกสินค้าไป EU ซึ่งไทยพร้อมมากน้อยเพียงใดในการปฏิบัติตามมาตรการ EUDR และผลกระทบจะขนาดใด เฉพาะอย่างยิ่งยางพารา ปาล์มน้ำมัน และไม้ ที่ไทยส่งออกไป EU มากที่สุดในกลุ่มสินค้านี้ และหากไทยพร้อม โอกาสทางการค้าที่เพิ่มขึ้น ไม่เฉพาะตลาด EU แต่สามารถส่งออกไปตลาดอื่นของโลกที่นับวันจะยิ่งนำประเด็นสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวพันกับการค้า ท่ามกลางวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ย่ำแย่ ทำความรู้จักมาตรการ EUDR EUDR เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ European Green Deal ของ EU ซึ่งมุ่งบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2050 มีเป้าหมายเพื่อหยุดยั้งการทำลายป่า…
Hangzhou DeepSeek Artificial Intelligence Basic Technology Research หรือ DeepSeek บริษัทเทคโนโลยี AI สัญชาติจีน เปิดตัว “DeepSeek-R1” โมเดล AI ประมวลผลข้อมูลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) แบบคิดหาเหตุผลก่อนตอบ (Reasoning model) ที่ได้คะแนนเทียบเท่า “o1-mini” โมเดล AI ของ OpenAI บริษัทเทคโนโลยี AI ของสหรัฐฯ ทำให้ DeepSeek-R1 ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มนักพัฒนา Chat Bot AI และมียอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันติดอันดับสูงสุดทั้งใน Apple App Store และ Google Play Store บริษัท DeepSeek มีสำนักงานอยู่ที่มณฑลเจ้อเจียงของจีน ก่อตั้งเมื่อ พ.ค.66 โดยนาย Wenfeng Liang นักธุรกิจ/วิศวกรสารสนเทศ ที่แรกเริ่มพัฒนา AI…
Global Gaze ปักษ์หลังเดือนมกราคม 2568 รายงานสถานการณ์และบทบาทของผู้นำที่น่าสนใจรอบโลกพร้อมประเมินแนวโน้ม
รอบรั้วอาคเนย์ Intelligence Report by NIA ฉบับปักษ์หลัง มกราคม 2568
รายงานสถานการณ์และบทบาทของผู้นำที่น่าสนใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมประเมินแนวโน้ม
สิงคโปร์เผชิญการหลอกลวงทางออนไลน์ เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน และเป็นปัญหาอาชญากรรมสำคัญลำดับต้นๆ ของประเทศ โดยพบว่าร้อยละ 86 ของการหลอกลวงเกี่ยวข้องกับการโอนเงินด้วยตนเอง ซึ่งเหยื่อเป็นผู้โอนหรือถอนเงินจากบัญชีของตนเอง สิงคโปร์ยังมีจำนวนคดีและมูลค่าความสูญเสียเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการหลอกลวงทางออนไลน์ โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 จำนวนคดีเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 26,587 คดี เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 จากช่วงเดียวกันของปี 2566 มูลค่าความเสียหายสูงสุดกว่า 385.6 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6 จาก 309.4 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในครึ่งแรกของปี 2566 เพื่อลดความสูญเสียดังกล่าว และลดผลกระทบต่อประชาชน สิงคโปร์จึงออกกฎหมายต่อต้านการหลอกลวงทางออนไลน์ (Phishing Scams) ฉบับใหม่ ซึ่งรัฐสภาสิงคโปร์มีมติผ่านกฎหมายดังกล่าวเมื่อ 7 ม.ค.68 โดยให้อำนาจแก่ตำรวจและ จนท. ที่เกี่ยวข้อง สามารถออกคำสั่งให้ธนาคารระงับการทำธุรกรรมของบุคคลที่เชื่อว่าจะโอนเงินให้กับผู้หลอกลวง (Restriction Orders) โดยจะระงับการโอนเงิน การใช้บริการ ATM และวงเงินเครดิตทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินโดยตรงหรือผ่านบัญชีม้า แต่บุคคลยังสามารถเข้าถึงเงินสำหรับค่าใช้จ่ายประจำวันได้ คำสั่งดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ครั้งละ 30 วัน และสามารถต่ออายุได้สูงสุด…
นรม.อันวาร์ อิบราฮิม ของมาเลเซีย และ นรม.ลอว์เรนซ์ หว่อง ของสิงคโปร์ ได้ประกาศข้อตกลงพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษยะโฮร์-สิงคโปร์ (Johor-Singapore Special Economic Zone : JS-SEZ ) ( ลงนามบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU เมื่อ ม.ค.67) ระหว่างการประชุมผู้นำมาเลเซีย-สิงคโปร์ ครั้งที่ 11 (11th Malaysia-Singapore Leaders’ Retreat) เมื่อ 7 ม.ค.68 เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อระหว่างทั้งสองประเทศ โดยมีเป้าหมายดำเนินโครงการกว่า 50 โครงการ ซึ่งจะสามารถสร้างงานสำหรับแรงงานทักษะสูง ประมาณ 20,000 ตำแหน่ง ภายใน 5 ปี ข้างหน้า เขตเศรษฐกิจพิเศษยะโฮร์-สิงคโปร์ มีเนื้อที่ประมาณ 2 ล้านไร่ ครอบคลุม 6 เมืองทางตอนใต้ของรัฐยะโฮร์ (ใหญ่กว่าสิงคโปร์ 4 เท่า) แบ่งเขตพัฒนาออกเป็นด้านต่างๆ…
เมียนมาบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงทางไซเบอร์ฉบับใหม่ เมื่อ 1 ม.ค.68 เพื่อป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์และเพิ่มขีดความสามารถด้านการสืบสวนอาชญากรรมทางไซเบอร์ แต่นัยสำคัญคือจำกัดมิให้ประชาชนและกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเมียนที่นิยมใช้โปรแกรมเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (VPN) เข้าถึงเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ที่ถูกปิดกั้นในเมียนมา อาทิ Facebook Instagram และ X เพราะเป็นช่องทางหลักที่กลุ่มต่อต้านใช้เผยแพร่ข่าวสารบ่อนทำลายรัฐบาล ระดมทุนสนับสนุน และปลุกระดมมวลชน กฎหมายความมั่นคงทางไซเบอร์ของเมียนมามีบทลงโทษที่รุนแรง เพื่อควบคุมไม่ให้พลเมืองกระทำผิดหรือมีพฤติการณ์ในเชิงต่อต้านรัฐ ที่สำคัญคือ 1) มาตรา 70 ห้ามมิให้ผู้ใดติดตั้งโปรแกรม VPN โดยไม่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงคมนาคม การสื่อสาร และเทคโนโลยี ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 1-10 ล้านจั๊ต (ประมาณ 16,485-164,845 บาท) 2) ปรับและจำคุก 2 เดือน สำหรับผู้ที่เข้าถึงหรือเผยแพร่ต่อบทความ สื่อ และข้อมูลจากเว็บไซต์ต้องห้าม และ 3) กำหนดโทษจำคุก 6 เดือน ถึง 1 ปี สำหรับผู้ที่เล่นพนันออนไลน์ผิดกฎหมาย ซึ่งบทลงโทษดังกล่าวครอบคลุมถึงพลเมืองเมียนมาที่อาศัยอยู่ต่างประเทศด้วย การใช้งานโปรแกรม VPN…
ในปี 2568 นี้ อาเซียนเผชิญความท้าทายอะไรบ้าง สถานการณ์ของภูมิภาคจะเป็นไปในทิศทางใดต่อไปภายใต้การนำของมาเลเซียในฐานะประธานอาเซียนประจำปี 2568 ติดตามรับฟังกันได้ที่ Podcast นี้เลย!!!