The Intelligence Weekly Review 04/02/2024
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
The Intelligence Weekly Review นำเสนอความเคลื่อนไหวประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นรอบโลกในแต่ละภูมิภาคให้ท่านผู้ฟังรู้ทันเหตุการณ์ เห็นความสำคัญ และนำมุมมองของเราไปใช้ประโยชน์กันต่อไป
สำนักข่าวยอนฮับของเกาหลีใต้ รายงานเมื่อ 1 ก.พ.67 ว่า อ้างแถลงการณ์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของเกาหลีใต้ว่า สภาที่ปรึกษาของประธานาธิบดีเกาหลีใต้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสำคัญเพิ่มอีก 5 ประเภท ได้แก่ 1) พลังงานนิวเคลียร์รุ่นใหม่ เช่น การพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็ก (Small Modular Reactors-SMRs) เชิงพาณิชย์ 2) วิศวกรรมการบิน-อวกาศ และสมุทรศาสตร์ (aerospace and ocean engineering) โดยตั้งเป้าหมายพัฒนายานอวกาศขนาด 1.8 ตันไปเยือนดวงจันทร์ภายในปี 2574 3) การสื่อสารรูปแบบใหม่ เช่น การพัฒนาเครือข่ายการสื่อสาร 6G ให้สำเร็จภายในปี 2569 4) หุ่นยนต์ขั้นสูง และ 5) ความมั่นคงทางไซเบอร์ ทั้งนี้ เกาหลีใต้จะพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวขึ้นเองภายในประเทศทั้งหมด 12 ประเภทภายในปี 2573 รวมกับเทคโนโลยีสำคัญที่ประกาศไว้ก่อนหน้า 7 ประเภท อาทิ เซมิคอนดักเตอร์ แบตเตอรี่ทุติยภูมิ (secondary battery) และชีวภาพขั้นสูง…
สำนักข่าว Al Jazeera รายงานเมื่อ 31 ม.ค.67 ว่า รัสเซียและยูเครนแลกเปลี่ยนเชลยสงคราม (Prisoner of War – POW) จำนวนฝ่ายละ 195 ราย โดยมีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นคนกลาง ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดเหตุเครื่องบินขนส่งรัสเซียที่บรรทุก POWs ชาวยูเครนตก จนมีผู้เสียชีวิต 65 ราย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับอนาคตของการแลกเปลี่ยนนักโทษระหว่างสองฝ่าย ด้านกระทรวงกลาโหมรัสเซียกล่าวว่า POWs ชาวรัสเซียจะเดินทางไปกรุงมอสโกเพื่อรับการรักษาทางการแพทย์และจิตใจ ส่วนหน่วยงานยูเครนที่รับผิดชอบ POWs กล่าวว่าครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนครั้งที่ 50 โดย POWs ชาวยูเครนถูกฝั่งรัสเซียควบคุมตัวขณะป้องกันเมืองมารีอูปอล เมืองเคอร์ซอน และบนเกาะสเน็คในทะเลดำ ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนเป็นระยะๆ ตั้งแต่เกิดการสู้รบ แม้ว่าจะไม่มีการเจรจาสันติภาพระหว่างกัน โดยการแลกเปลี่ยนครั้งล่าสุดและซึ่งเป็นครั้งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นเมื่อ 3 ม.ค.67 มีการแลกเปลี่ยนรวมจำนวนจากทั้งสองฝ่าย 478 ราย
สำนักข่าว China Daily รายงานเมื่อ 1 ก.พ.67 ว่า พล.ร.อ.ตง จุน รัฐมนตรีกลาโหมของจีน ได้หารือกับ พล.อ.เซียร์เกย์ ชอยกู รัฐมนตรีกลาโหมของรัสเซีย ผ่านระบบการประชุมทางไกลเมื่อ 31 ม.ค.67 ซึ่งทั้งสองฝ่ายให้คำมั่นที่จะยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ภายใต้สถานะหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์รอบด้านแห่งความร่วมมือในยุคใหม่ระหว่างจีน-รัสเซีย อีกทั้งยังแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นที่ห่วงกังวลร่วมกันในทั้งระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ นอกจากนี้ จีนได้เน้นย้ำให้กองทัพจีนและรัสเซียดำเนินการตามฉันทามติสำคัญที่บรรลุโดยผู้นำทั้งสองประเทศ เผชิญความท้าทายระดับโลกอย่างมั่นคง เสริมสร้างความไว้วางใจทางยุทธศาสตร์ และขยายความร่วมมือเชิงปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวเป็นการปรากฏตัวต่อสาธารณะครั้งแรกของ พล.ร.อ.ตง จุน หลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เมื่อ ธ.ค.66
สำนักข่าว Al Arabiya รายงานเมื่อ 31 ม.ค.67 อ้างผลการเสด็จเยือนซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการของ เชค มิชอัล อัลอะห์มัด อัลญาบิร อาลเศาะบาฮ์ เจ้าผู้ครองรัฐคูเวต ระหว่าง 30-31 ม.ค.67 ว่า ซาอุดีอาระเบียและคูเวตย้ำความสำคัญของทุกประเทศในกลุ่ม OPEC+ ในการปฏิบัติตามข้อตกลงลดการผลิตน้ำมัน เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดน้ำมันโลก ให้สามารถตอบสนองผลประโยชน์ทั้งของผู้ผลิตและผู้บริโภค และสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายตกลงจะกระชับความร่วมมือในภาคน้ำมันและก๊าซ รวมถึงด้านต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีและพลังงานสะอาด การเสริมสร้างความร่วมมือในนโยบายสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศ การส่งเสริมการลงทุนระหว่างนักลงทุนและภาคเอกชนของทั้งสองฝ่าย และเห็นพ้องการจัดการประชุมสภาความร่วมมือซาอุดี-คูเวต (Saudi-Kuwaiti Coordination Council-SKCC) ครั้งที่ 2 ในปี 2567 โดยมีคูเวตเป็นเจ้าภาพ เพื่อผลักดันข้อตกลงริเริ่มความร่วมมือทวิภาคีด้านต่าง ๆ เช่น ข้อตกลงโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟระหว่างซาอุดีอาระเบีย-คูเวต ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้าและการเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ คูเวตและซาอุดีอาระเบียซึ่งเป็นประเทศสมาชิก OPEC มีข้อพิพาทกับอิหร่าน ร่วมกันในประเด็นการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ Al-Durra ในอ่าวอาหรับ/อ่าวเปอร์เซีย ที่ปัจจุบันยังไม่ได้รับการแก้ไข
เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ Arab News รายงานเมื่อ 30 ม.ค.67 อ้างแถลงการณ์ของสำนักข่าวกรองและความมั่นคงโซมาเลีย (NISA) ในวันเดียวกันว่า กองความมั่นคงทางไซเบอร์ของ NISA ระงับการใช้งานบัญชีแอปพลิเคชัน WhatsApp ของกลุ่มผู้ใช้งานแอปพลิเคชันดังกล่าวจำนวน 20 กลุ่ม (รวม 2,500 บัญชี) ฐานความผิดข่มขู่กรรโชกและคุกคามให้เกิดความหวาดกลัว เนื่องจากพบหลักฐานว่ากลุ่มเหล่านี้ใช้แอปพลิเคชันดังกล่าว เป็นช่องทางสื่อสารและทำธุรกรรมทางการเงินที่มีความเชื่อมโยงกับกลุ่ม Al–Shabaab ซึ่งเป็นกลุ่มก่อการร้ายในโซมาเลียที่ประกาศสวามิภักดิ์กับกลุ่มอัลกออิดะฮ์ (AQ) ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการ “Total War” ของรัฐบาลโซมาเลีย เพื่อปราบปรามกลุ่ม Al-Shabaab ที่เป็นภัยคุกกคามความมั่นคงของโซมาเลียมานาน
สำนักข่าว AP รายงานเมื่อ 31 ม.ค.67 อ้างหนังสือพิมพ์ Al-Watan ซี่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลซีเรียว่า นาย Hassan Ahmad al-Shihi ยื่นพระราชสาส์นตราตั้งเป็นเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำซีเรีย ต่อนาย Faisal Mekdad รัฐมนตรีต่างประเทศซีเรีย เมื่อ 30 ม.ค.67 ซึ่งเป็นการเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates – UAE) ประจำซีเรีย อย่างเป็นทางการในรอบ 13 ปี นับจาก UAE เรียกตัวเอกอัครราชทูตประจำซีเรียกลับประเทศและปิดสถานทูตตั้งแต่ปี 2554 เนื่องจากเกิดการลุกฮือต่อต้านรัฐบาลซีเรียของประชาชน กระทั่งขยายตัวลุกลามไปเป็นสงครามกลางเมือง ก่อนที่ UAE จะกลับมาเปิดทำการสถานทูตเมื่อห้วงปลายปี 2561 ทั้งนี้ หลังเกิดสงครามกลางเมืองในซีเรียตั้งแต่ปี 2554 ประเทศอาหรับหลายประเทศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับซีเรีย และสนับสนุนสันนิบาตอาหรับ (Arab League – AL) ให้ระงับสมาชิกภาพของซีเรียใน AL เพื่อแสดงการต่อต้านประธานาธิบดีบะชาร อัลอัดซาด ของซีเรีย ที่ใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล…
สำนักข่าว Al Jazeera รายงานเมื่อ 31 ม.ค.67 ว่า สมาชิกวง Bi-2 จำนวน 7 คน วงร็อคสัญชาติรัสเซียและเคยวิจารณ์การปฏิบัติการทางทหารในยูเครนและประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูตินของรัสเซีย กำลังจะถูกไทยส่งตัวกลับรัสเซีย หลังจากทางการไทยควบคุมตัวสมาชิกวงดังกล่าวเมื่อ 24 ม.ค.67 ในข้อหาจัดการแสดงดนตรีโดยที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานในไทย ด้าน Human Rights Watch ระบุว่าหากไทยส่งสมาชิกวงกลับไปที่รัสเซีย พวกเขาจะเผชิญกับอันตราย เนื่องจากโฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย เคยแถลงว่าพวกเขาเป็นกลุ่มที่สนับสนุนการก่อการร้าย ทั้งนี้ นาย Yegor Bortnik นักร้องนำ เดินทางไปที่อิสราเอลแล้ว ส่วนสมาชิกที่เหลือมีทั้งสัญชาติรัสเซียและชาติอื่นๆ รวมถึงอิสราเอลและออสเตรเลีย (ถือสองสัญชาติ) ยังถูกคุมขังในไทย โดยมีความกังวลหากจะมีการส่งตัวกลับไปที่รัสเซีย
สำนักข่าวบีบีซีรายงานเมื่อ 31 ม.ค.67 ว่าประธานาธิบดีลูลา ดา ซิลวาของบราซิลสั่งปลดนายอเล็ซซานโด โมเรตติ รองผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองของบราซิล และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยข่าวกรองอีก 4 คนออกจากตำแหน่ง เนื่องจากนายโมเรตติและเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองดังกล่าวจารกรรมข้อมูลด้านการเมืองให้แก่นายอเล็กซานเดอร์ รามาเจม อดีตผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองบราซิลในห้วงการดำรงตำแหน่งของนายจาอีร์ โบลโซนาโร อดีตประธานาธิบดีบราซิล ด้านนายโบลโซนาโรกล่าวว่ากรณีดังกล่าวเป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง
เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในโลกขณะนี้ คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเอ่ยถึงภูมิภาคตะวันออกกลาง ภูมิภาคที่มีความสลับซับซ้อนในการทำความเข้าใจในด้านสงคราม ความขัดแย้ง สันติภาพและความมั่นคง มากที่สุดภูมิภาคหนึ่งของโลก เพราะผู้เล่นที่สำคัญในภูมิภาคนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ประเทศต่าง ๆ อย่าง ซาอุดีอาระเบีย อิสราเอล อิหร่าน รวมถึงตุรกี อียิปต์ เพียงเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทของกลุ่มติดอาวุธที่มีฐานที่มั่นอยู่ในภูมิภาค …..และขณะเดียวกันก็ยังมีตัวแสดงที่มีบทบาทและอิทธิพลต่อโลก ดังเช่นสหรัฐอเมริกา รัสเซีย และจีนที่กำลังเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญ กับทั้งยังมีกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมที่เข้ามามีบทบาทในด้านมนุษยธรรมภายในภูมิภาคแห่งนี้ด้วย ความขัดแย้งเหตุล่าสุดในภูมิภาคที่จะกล่าวถึงนี้คือ….เหตุสงครามระหว่างกลุ่มฮามาสและอิสราเอล ซึ่งเริ่มต้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากทั้งฝั่งอิสราเอลและฉนวนกาซาจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดวิกฤตการณ์ตัวประกัน ซึ่งกลุ่มฮามาสเป็นฝ่ายที่ใช้วิธีการโจมตีฝั่งอิสราเอลให้เสียหาย พร้อมกันกับจับตัวประกันทั้งชาวอิสราเอลและชาวต่างชาติ ทำให้เหตุสงครามในขณะนี้กลายเป็นวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อหลายประเทศทั่วโลก ไม่เว้นแต่ไทย เพราะมีแรงงานไทยที่ถูกจับเป็นตัวประกันโดยกลุ่มฮามาสด้วย อย่างไรก็ดี ประเด็นที่โลกยังไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก แต่ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่เอ่ยถึงไม่ได้ คือเรื่องของอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นอาวุธระดับยุทธศาสตร์ของประเทศที่ครอบครองยุทโธปกรณ์ประเภทนี้ เมื่อกล่าวถึงอาวุธนิวเคลียร์ คนทั่วไปมักนึกถึงแค่ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ รัสเซีย ที่เคยเป็นคู่แข่งกันมาตั้งแต่สมัยสงครามเย็น…