สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน
(Republic of South Sudan)
เมืองหลวง จูบา
ที่ตั้ง ในเขต Sahel ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา อยู่ระหว่างละติจูด 3-13 องศาเหนือ กับลองจิจูด 24-36 องศาตะวันออก พื้นที่ 644,329 ตร.กม. มีชายแดนทางบกยาว 6,018 กม. และเป็นประเทศไม่มีทางออกสู่ทะเล (landlocked)
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับซูดาน 2,158 กม.
(ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงสถานะเขตแดนพื้นที่ Abyei)
ทิศใต้ ติดกับเคนยา 317 กม. ยูกันดา 475 กม. และคองโก 714 กม.
ทิศตะวันออก ติดกับเอธิโอเปีย 1,299 กม.
ทิศตะวันตก ติดกับสาธารณรัฐแอฟริกากลาง 1,055 กม.
ภูมิประเทศ เป็นที่ราบทางตอนเหนือและภาคกลางของประเทศก่อนยกตัวขึ้นเป็นที่ราบสูงด้านพรมแดน ที่ติดกับเคนยาและยูกันดา มีแม่น้ำ White Nile ไหลผ่านตอนกลางของประเทศจากภาคใต้ (ยูกันดา) ไปทางเหนือ ผ่านพรมแดนเข้าไปในซูดานเหนือ ทำให้เซาท์ซูดานมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก จุดที่สูงที่สุดของประเทศอยู่ที่ภูเขา Kinyeti มีความสูง 3,187 ม. เหนือระดับน้ำทะเล
วันชาติ 9 ก.ค. วันประกาศเอกราชจากซูดานเมื่อปี 2554
พล.อ.อับเดล ฟัตตาห์ อัล-บูร์ฮาน
(ประธานาธิบดีเซาท์ซูดาน)
ประชากร 48,524,619 (พ.ย. 2566)
รายละเอียดประชากร ส่วนใหญ่ (70%) เป็นชาวอาหรับซูดาน นอกนั้นเป็น Fur, Beja, Nuba และ Fallata อัตราส่วนประชากรจำแนกตามอายุ(ปี 2565) : วัยเด็ก (0-14 ปี) 40.47% วัยรุ่นถึงวัยกลางคน (15-64 ปี) 56.35% วัยชรา (65 ปีขึ้นไป) 3.19% อายุขัยเฉลี่ยของประชากรโดยรวม66.1 ปี เพศชายประมาณ 63.6 ปี เพศหญิงประมาณ 68.7 ปี อัตราการเกิด 33.32 คนต่อประชากร 1,000 คน อัตราการตาย 6.19 คนต่อประชากร 1,000 คน อัตราการเพิ่มของประชากร2.55%
ศาสนา ส่วนใหญ่เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม (ซุนนี) 90.7% ศาสนาคริสต์ 5.5% นิกายท้องถิ่น 2.8 และอื่น ๆ 1%
ภาษา ภาษาอาหรับและภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ และมีการใช้ภาษาท้องถิ่นอื่น ได้แก่ Nubian, Ta Bedawie และ Fur
การศึกษา อัตราการรู้หนังสือ 75.86%
การก่อตั้งประเทศ
หลังได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรเมื่อ 1 ม.ค.2499 ซูดานตกอยู่ในภาวะสงครามกลางเมืองมาตลอด โดยสงครามกลางเมืองช่วงแรกสิ้นสุดลงเมื่อปี 2515 และสงครามกลางเมืองครั้งที่ 2เกิดขึ้นเมื่อปี 2526 เนื่องจากรัฐบาลซูดานภายใต้การนำของประธานาธิบดี Gaafar Nimeiry ประกาศใช้กฎหมายอิสลามบริหารประเทศครอบคลุมถึงซูดานตอนใต้ ทำให้ชาวซูดานตอนใต้ที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์และความเชื่อดั้งเดิม รวมตัวกันจัดตั้งเป็น กกล.ต่อต้าน ชื่อ Sudan People’s Liberation Movement (SPLM) นำโดยนาย John Garang และปฏิเสธที่จะอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลนาย Gaafar Nimeiry
ซึ่งกลุ่มดังกล่าวทำสงครามต่อต้านรัฐบาลมาอย่างยาวนานกว่าสองทศวรรษ ส่งผลให้มีผู้พลัดถิ่นกว่า 4 ล้านคน และเสียชีวิต 2 ล้านคน จนเมื่อ ม.ค.2548 ทั้งสองฝ่ายบรรลุความตกลงสันติภาพ (Comprehensive Peace Agreement-CPA) กำหนดให้ซูดานเหนือและใต้มีโครงสร้างการปกครองที่ทั้งสองฝ่ายมีส่วนร่วม เช่น ให้ผู้นำของ SPLM เป็นรองประธานาธิบดีคนที่หนึ่ง จัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างพรรค National Congress Party (NCP) ของรัฐบาลกับกลุ่ม SPLM ภายใต้ชื่อ Government of National Unity (GNU) แบ่งรายได้จากการส่งออกน้ำมันระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้เท่า ๆ กัน และให้ฝ่ายใต้มีอำนาจปกครองตนเอง (autonomy) เป็นเวลา 6 ปี ก่อนให้ประชาชนลงประชามติ ซึ่งผลการลงประชามติเมื่อ ม.ค.2554 ประชาชนฝ่ายใต้ 98% เลือกที่จะปกครองตนเอง นำไปสู่การประกาศเอกราชของซูดานใต้แยกจากซูดาน เมื่อ 9 ก.ค.2554 แต่ภายหลัง การแยกตัวของซูดานใต้ เกิดความขัดแย้งภายในซูดานระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มปลดปล่อยประชาชนซูดานเหนือ (Sudan People’s Liberation Movement-North) หรือ SPLM-Nและในพื้นที่ขัดแย้งดาร์ฟูร์ South Kordofan และ Blue Nile ทำให้มีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยมากถึง 12 ล้านคน และส่งผลต่อการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยเฉพาะความขัดแย้งในดาร์ฟูร์เมื่อปี 2546 ทำให้มีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยนับล้านคน และเสียชีวิตนับแสนคน สหประชาชาติและสหภาพแอฟริกาพยายามเข้ามาระงับเหตุ และจัดตั้งภารกิจกองกำลังสันติภาพผสมระหว่างสหประชาชาติกับสหภาพแอฟริกาในดาร์ฟูร์ (UNAMID) เมื่อปี 2550 ปัจจุบันUNAMID ประกาศยุติภารกิจและถอนกำลังประจำการออกจากซูดานแล้วเมื่อ 31 ธ.ค.2563นอกจากนี้ ซูดานยังมีปัญหาผู้ลี้ภัยจากประเทศข้างเคียง เช่น เอธิโอเปีย ชาด สาธารณรัฐแอฟริกากลาง และเซาท์ซูดาน ขณะที่การให้ความช่วยเหลือทำได้ยากลำบาก เพราะปัญหาความขัดแย้งของกลุ่มติดอาวุธและสภาพการคมนาคม
วันชาติ 1 ม.ค. (ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรเมื่อปี 2499)
การเมือง
ปกครองแบบสาธารณรัฐ ประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้ารัฐบาล การเลือกตั้งประธานาธิบดีและการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อ 13-16 เม.ย.2558 นายอุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ 16 ต.ค.2536 และถูกโค่นล้มออกจากตำแหน่งเมื่อ 11 เม.ย.2562 จากการรัฐประหาร
โดยกองทัพ ต่อมา เมื่อ 17 ส.ค.2562 ซูดานตั้งสภาปกครอง (Sovereign Council) ให้มีอำนาจสูงสุดในการบริหารปกครองประเทศ โดยจะทำหน้าที่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านเป็นระยะเวลา 39 เดือน ก่อนจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปภายใน ก.ค.2566 ซึ่งสมาชิกจากฝ่ายกองทัพจะเป็นประธานใน 21 เดือนแรก จากนั้น ฝ่ายพลเรือนจะเข้าเป็นประธานต่ออีก 18 เดือน ปัจจุบัน มีพล.อ.อับเดล ฟัตตาห์ อัล-บูร์ฮาน เป็นประธานสภาปกครอง อย่างไรก็ดี จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างกองทัพซูดานกับกองกำลัง RSFตั้งแต่ 15 เม.ย.2566 ยังไม่ประสบความสำเร็จการเจรจายุติความขัดแย้ง ส่งผลให้ให้การเลือกยังไม่เกิดขึ้น
ฝ่ายบริหาร : ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีอำนาจควบคุมฝ่ายบริหาร กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ และแต่งตั้ง ครม. แต่หลังเกิดการรัฐประหารเมื่อ 11 เม.ย.2562 สภาปกครอง (Sovereignty Council-SC) เข้าทำหน้าที่บริหารประเทศชั่วคราว มีสมาชิกจากทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนรวม 11 คน และหลังการรัฐประหารเมื่อ 25 ต.ค.2564 มีการเพิ่มสมาชิก SC รวมเป็น 14 คน โดยมี พล.อ.อับเดล ฟัตตาห์ อัล-บูร์ฮาน อดีตประธานสภาทหารเพื่อการเปลี่ยนผ่านของซูดาน (Transitional Military Council-TMC) ทำหน้าที่ประธานสภาปกครอง และ พล.ท.Mohammed Hamadan Dagalo ทำหน้าที่เป็นรองประธานสภา ทั้งนี้ นาย Abdalla Hamdok นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำสหประชาชาติ ซึ่งมี สนญ.อยู่เอธิโอเปีย ได้รับคัดเลือกจากฝ่ายพลเรือนให้ดำรงตำแหน่ง นรม.ซูดาน ทั้งสภาปกครองและนาย Hamdokเข้าสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 21 ส.ค.2562 ต่อมา พล.อ.อับเดล ฟัตตาห์ อัล-บูร์ฮาน ทำรัฐประหารเมื่อ 25 ต.ค.2564 ก่อนจะมีการลงนามในข้อตกลงฟื้นฟูทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนผ่านการปกครองไปสู่พลเรือน และแต่งตั้งให้ นรม.Hamdok ดำรงตำแหน่งอีกครั้งเมื่อ 21 พ.ย.2564 แต่ต่อมา นรม.Hamdok ประกาศลาออกจากตำแหน่งเมื่อ 2 ม.ค.2565 และมีการแต่งตั้งนาย Osman Hussein เป็น นรม.รักษาการตั้งแต่ 19 ม.ค.2565
ฝ่ายนิติบัญญัติ : ทำหน้าที่ออกกฎหมาย ข้อมติ และจัดให้มีการไต่สวนในเรื่องที่มีความสำคัญ ให้ความเห็นชอบงบประมาณและภาษี ประกอบด้วย 2 สภา คือ 1) วุฒิสภา (Council of States หรือ Majlis al-Wilayat) มีสมาชิก 54 คน มาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม วาระ 6 ปี และ 2) สภาผู้แทนราษฎร (National Assembly หรือ Majlis Watani) มีสมาชิก 426 คน โดย 213 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ส่วนที่เหลือมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน (ในจำนวนส่วนที่เหลือนี้เป็นหญิง 128 คน) วาระ 6 ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อ 13-16 เม.ย.2558 มีการยุบสภาเนื่องจากเกิดการรัฐประหารสองครั้งคือเมื่อ 11 เม.ย.2562 และ 25 ต.ค.2564
ฝ่ายตุลาการ : ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ และศาลอื่น ๆ
พรรคการเมืองสำคัญ : พรรค Democratic Unionist Party (DUP) ดั้งเดิม พรรค Democratic Unionist Party พรรค Umma Federal Party (UFP) พรรค Popular Congress Party (PCP) พรรค Umma Party (UP) พรรค Umma Reform and Development Party (URDP) และพรรค Muslim Brotherhood (MB)
เศรษฐกิจ
ตั้งแต่ปี 2552 เศรษฐกิจของซูดานพึ่งพาการส่งออกน้ำมัน ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงยึดอาชีพเกษตรกรรม แม้ว่าอัตราการเติบโตของรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชาชนเพิ่มขึ้น แต่ปัญหาการสู้รบในดาร์ฟูร์ ที่เป็นสงครามกลางเมือง และการขาดแคลนระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ทำให้ประชาชนมีระดับความเป็นอยู่ต่ำกว่ามาตรฐานความยากจน ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมน้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ภาคบริการ การพัฒนาสาธารณูปโภค และภาคการเกษตรก็มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นในการส่งเสริมการจ้างงาน โดยภาคการเกษตรมีการจ้างงานสูงสุด
ผลผลิตการเกษตร ได้แก่ ฝ้าย ถั่วลิสง ข้าวฟ่าง ลูกเดือย ข้าวสาลี กัมอาหรับ (เป็นสารประกอบธรรมชาติชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มสารไฮโดรคอลลอยด์ที่นิยมใช้กันแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมอาหาร) อ้อย มันแกว มะม่วง มะละกอ กล้วยหอม มันฝรั่งหวาน งา แกะ และปศุสัตว์ ผลผลิตในภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ น้ำมัน สิ่งทอ ซีเมนต์ น้ำมันรำข้าว น้ำตาล สมุนไพรที่ใช้ในการทำสบู่ รองเท้าน้ำมันกลั่น เวชภัณฑ์ ยุทธภัณฑ์ การประกอบรถยนต์และรถบรรทุกขนาดเล็ก
การแยกตัวของซูดานใต้ออกจากสาธารณรัฐซูดานเมื่อ ก.ค.2554 ทำให้สาธารณรัฐซูดานสูญเสียแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่และสูญเสียรายได้จากน้ำมัน (คิดเป็นร้อยละ 95 ของการส่งออกทั้งหมด) และส่งผลกระทบต่อค่าเงินและเศรษฐกิจของซูดานเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ประชาชนนำเงินไปซื้อ-ขายในตลาดมืดที่ให้ราคาดีกว่าธนาคาร เนื่องจากค่าเงินปอนด์ซูดานอ่อนค่าลงอย่างมาก ขณะเดียวกันก็ประสบปัญหาขาดแคลนเงินตราต่างประเทศภาวะเงินเฟ้อสูง และรัฐบาลซูดานลดการอุดหนุนการนำเข้าข้าวสาลีและเชื้อเพลิง ทำให้ประชาชนประสบความยากลำบาก รัฐบาลจึงพยายามแก้ปัญหาโดยมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้าทางเลือกจากนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงการใช้เงินอุดหนุนน้ำมันเชื้อเพลิง อาจไม่ใช่การแก้ปัญหาที่เหมาะสม และอาจนำไปสู่ปัญหาอื่น เช่น เงินเฟ้อ และการคอร์รัปชัน โดยอาศัยส่วนต่างของราคาน้ำมัน ทั้งนี้ ซูดานต้องพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ซึ่งเมื่อ ธ.ค.2563 เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วนอย่างน้อย 40% ของงบประมาณประจำปีของซูดาน
สถานการณ์ความขัดแย้งภายในประเทศ เฉพาะอย่างยิ่งการปะทะกันระหว่างกองทัพซูดาน และกองกำลัง RSF ซึ่งมิได้สังกัดกองทัพซูดาน เมื่อ 15 เม.ย.2566 ได้เพิ่มการบ่อนทำลายรากฐานทางเศรษฐกิจของซูดานซึ่งขัดขวางศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจของซูดาน
สกุลเงิน ตัวย่อสกุลเงิน : ปอนด์เซาท์ซูดาน (South Sudanese Pounds) หรือ SSP
อัตราแลกเปลี่ยนต่อดอลลาร์สหรัฐ : 1 ดอลลาร์สหรัฐ : 599.5 ปอนด์ซูดาน
อัตราแลกเปลี่ยนต่อบาท : 1 บาท : 16.77ปอนด์ซูดาน (พ.ย.2566)
ดัชนีเศรษฐกิจสำคัญ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) : 51,660ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2565 ของธนาคารโลก)
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ : 0.8% (ปี 2566)
รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี : 727.61 ดอลลาร์สหรัฐ(ปี 2566)
แรงงาน : 19,432,726 คน (ปี 2565 เพิ่มขึ้นจากปี 2564 48.8%)
อัตราการว่างงาน : 18.73% (ปี 2565)
อัตราเงินเฟ้อ : 154.9% (ปี 2565)
ผลผลิตทางการเกษตร : ฝ้าย ถั่วลิสง ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี กัมอาหรับ อ้อย มันสำปะหลัง มะม่วง มะละกอ
ผลผลิตอุตสาหกรรม : น้ำมัน ใยฝ้าย สิ่งทอ ซีเมนต์ น้ำมันชนิดรับประทานได้ น้ำตาล
ดุลการค้าระหว่างประเทศ : ขาดดุลประมาณ6,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2565)
มูลค่าการส่งออก : 4,190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2565)
สินค้าส่งออก : น้ำมันดิบ ทองคำ พืชน้ำมันเมล็ดงา แกะ และแพะ
คู่ค้าส่งออกที่สำคัญ : สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินเดีย จีน ซาอุดีอาระเบีย อินโดนีเซีย
มูลค่าการนำเข้า : 1,122 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2565)
สินค้านำเข้า : ข้าวสาลี น้ำตาลทรายดิบ ยาและเคมีภัณฑ์ ยานยนต์ ยางรถยนต์ และสิ่งทอ
คู่ค้านำเข้าที่สำคัญ : จีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินเดีย ซาอุดีอาระเบีย รัสเซีย
คู่ค้าสำคัญ : สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จีน อินเดีย
ทรัพยากรธรรมชาติ : น้ำมัน แหล่งแร่เหล็ก ทองแดง โครเมียม สังกะสี ทังสเตน แร่ไมกา เงิน ทองคำ และไฟฟ้าพลังน้ำ
การทหารและความมั่นคง
การทหาร : ไม่ปรากฏข้อมูลงบประมาณด้านการทหาร กำลังพลรวม ทหาร 104,300 นาย โดยทหารแยกเป็น ทบ. 100,000 นาย ทร.1,300 นาย และ ทอ. 3,000 นาย และมีกองกำลังกึ่งทหาร 40,000 นาย
ยุทโธปกรณ์สำคัญ : ทบ. ได้แก่ ถ.หลัก (MBT) 465 คัน ถ.เบา (LT TK) 115 คัน รถหุ้มเกราะลาดตระเวน (RECCE) รวม 206 คัน รถหุ้มเกราะทหารราบ (IFV) 145 คัน รถหุ้มเกราะลำเลียงพล (APC) รวมมากกว่า 405 คัน รถหุ้มเกราะอรรถประโยชน์ (AUV) มากกว่า 4 คัน อาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง (MSL) ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลังต่อสู้รถถัง (RCL) และปืนต่อสู้รถถัง ปืนใหญ่ประเภทอัตตาจร (SP) ลากจูง (TOWED) ยิงระเบิด (MRL) และปืนครก (MOR) รวมมากกว่า 860 กระบอก จรวดต่อสู้อากาศยานพื้นสู่อากาศ (SAM) และปืนต่อสู้อากาศยานประเภทอัตตาจร (SP) และลากจูง (TOWED) รวมมากกว่า 966 กระบอก
ทร. ได้แก่ เรือลาดตระเวนและเรือรบชายฝั่ง11 ลำ เรือรบสะเทินน้ำสะเทินบก 5 ลำ เรือสนับสนุน 4 ลำ
ทอ. ได้แก่ บ.ขับไล่ (FTR) 22 เครื่อง บ.โจมตี (ATK) 20 เครื่อง บ.โจมตีภาคพื้นดิน (FGA) 6 เครื่อง บ.ด้านข่าวกรอง เฝ้าระวัง และลาดตระเวน (ISR) 2 เครื่อง บ.ขนส่ง (TPT) 24 เครื่อง และ บ.สำหรับการฝึก (TRG) มากกว่า 15 เครื่อง ฮ.โจมตี (ATK) 40 เครื่องฮ.อเนกประสงค์ (MRH) 3 เครื่อง ฮ.ขนส่ง (TPT) 27 เครื่อง อากาศยานไร้คนขับรุ่น CH-3 และรุ่น CH-4 จรวดต่อสู้อากาศยานพื้นสู่อากาศ (SAM) ขีปนาวุธจากอากาศสู่อากาศ (AAM) และขีปนาวุธนำทางด้วยเรดาร์ (ARH)
ปัญหาด้านความมั่นคง :
1)สถานการณ์ด้านมนุษยธรรม เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศและภัยธรรมชาติ ผลกระทบจากโรค COVID-19 รวมถึงด้านสุขภาพ ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ยากลำบากขึ้น
2)ผลกระทบจากการสู้รบในภูมิภาค Tigray ทางตอนเหนือของเอธิโอเปีย ทำให้มีชาวเอธิโอเปีย ลี้ภัยมายังทาง ตอ.ของซูดาน
3)ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ต่อเนื่องยาวนานเกือบ 20 ปี ตั้งแต่ก่อนการแยกตัวออกจากสาธารณรัฐซูดานใต้ในปี 2554 โดยในห้วง เม.ย.66 เกิดความไม่สงบในซูดานจากการปะทะกันระหว่างกองทัพซูดาน นำโดย พล.อ.อับเดล ฟัตตาห์ อัล-บูร์ฮาน ประธานาธิบดีและผู้บัญชาการทหารสูงสุดของซูดาน และกองกำลังสนับสนุนเคลื่อนที่เร็ว (Rapid Support Forces: RSF) ซึ่งมิได้สังกัดกองทัพซูดาน นำโดยพลเอกโมฮาเหม็ด ฮัมดาน ดากาโล หรือ “เฮเมดติ” รองประธานาธิบดีและผู้บัญชาการ RSF เมื่อ 15 เม.ย.2566 ซึ่งผู้นำทั้งสองมีแนวคิดในการบริหารประเทศแตกต่างกันสิ้นเชิง โดยเฉพาะการนำซูดานกลับคืนสู่การปกครองของรัฐบาลพลเรือน รวมทั้งการผนวก RSF ซึ่งมีกำลังพลเกือบแสนนายเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพซูดาน อย่างไรก็ดี การสู้รบยังคงดำเนินมาถึงในเวลานี้ เนื่องจากการเจรจาระหว่างสองฝ่ายยังไม่ประสบผลสำเร็จ
4) ปัญหาเศรษฐกิจจากการขาดแคลนเชื้อเพลิงและข้าวสาลีมีราคาแพง รวมถึงเศรษฐกิจที่ตกต่ำอยู่เดิมถูกซ้ำเติมด้วยผลกระทบจากโรค COVID-19 วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน ตอดจนความขัดแย้งทางการเมืองภายในระหว่างรัฐบาลกับกองกำลัง RSF ทำให้ฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ยาก และต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างชาติ
สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ ABEDA, ACP, AfDB, AFESD, AMF, AU, CAEU, COMESA, FAO, G-77, IAEA, IBRD, ICAO, ICRM, IDA, IDB, IFAD, IFC, IFRCS, IGAD, ILO, IMF, IMO, Interpol, IOC, IOM, IPU, ISO, ITSO, ITU, LAS, MI-GA, NAM, OIC, OPCW, PCA, UN, UNCTAD, UNESCO, UNHCR, UNIDO, UNWTO, UPU, WCO, WFTU, WHO, WIPO, WMO และ WTO (ผู้สังเกตการณ์)
การขนส่งและโทรคมนาคมท่าอากาศยาน 67 แห่ง ท่าอากาศยานนานาชาติที่สำคัญ ได้แก่ ท่าอากาศยานคาร์ทูม เส้นทางรถไฟระยะทาง 7,251 กม. ถนนระยะทาง 31,000 กม. และการเดินทางโดยเรือในแม่น้ำไนล์ (Blue Nile และ White Nile) ระยะทาง 4,068 กม. ท่าเรือสำคัญได้แก่ Port Sudan สำหรับการโทรคมนาคม โทรศัพท์พื้นฐานให้บริการประมาณ 141,922เลขหมาย โทรศัพท์เคลื่อนที่ 34,198,859 เลขหมาย รหัสโทรศัพท์ +249 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 13,311,404 คน หรือ 30.87% ของประชากรทั้งหมด (ปี 2561) รหัสอินเทอร์เน็ต .sd เว็บไซต์การท่องเที่ยว:http://www.sudan.net/travel.php
การเดินทาง สายการบินของไทยไม่มีเที่ยวบินตรง กรุงเทพฯ-คาร์ทูม แต่สามารถเดินทางได้ด้วยสายการบินที่หลากหลาย เช่น Emirates Airlines, Ethiopian Airways, Turkish Airlinesและ Gulf Air โดยใช้เวลาเดินทางอย่างน้อย 12ชม. เวลาที่ซูดานช้ากว่าไทยประมาณ 5 ชม.
ความสัมพันธ์ไทย-เซาท์ซูดาน
ความสัมพันธ์ด้านการทูต
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์กับซูดานเมื่อ 15 มิ.ย.2525 โดยมอบหมายให้ สอท. ณ กรุงไคโรอียิปต์ มีเขตอาณาครอบคลุมถึงซูดาน ส่วนฝ่ายซูดานมอบหมายให้ สอท.ซูดาน ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย มีเขตอาณาครอบคลุมไทย ปัจจุบัน รัฐบาลซูดานกระชับความสัมพันธ์กับไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุข และวิชาการ และเมื่อปี 2565 ซูดานเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำประเทศไทยและแต่งตั้งนายอภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำประเทศไทย
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
ซูดานเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 109 ของไทยกับโลก การค้ารวมระหว่างไทย-ซูดาน ในปี 2565 มีมูลค่า 87.72 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ามากถึง 82.72 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการค้าในปี 2566 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่ารวม 20.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออกให้ซูดาน 19.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าจากซูดาน 1.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปซูดาน อาทิ อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาง ผ้าผืน เคมีภัณฑ์ และสินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากซูดาน อาทิ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช และสินแร่โลหะ
ปัจจุบันมีนักธุรกิจไทยดำเนินการจัดตั้งศูนย์การค้าไทยที่กรุงคาร์ทูม เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ตสินค้าไทย (อาหารฮาลาล) ห้องแสดงสินค้าไทย และร้านอาหารไทย นอกจากนี้ ซูดานยังมีความต้องการสินค้าจากไทย เช่น เสื้อผ้า วัสดุก่อสร้าง อาหารกระป๋อง ส่วนไทยนำเข้าฝ้ายจากซูดาน
ความตกลงที่สำคัญระหว่างไทยกับซูดานอยู่ระหว่างการพิจารณาความตกลงทั่วไปว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและเศรษฐกิจ และบันทึกความเข้าใจด้านสาธารณสุข
สถานการณ์สำคัญที่น่าติดตาม :
1)เสถียรภาพภายในซูดานและการบริหารประเทศของสภาปกครองที่จัดตั้งขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมือง โดย นรม.Hamdok ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง นรม.ซูดานอีกครั้งเมื่อ 21 พ.ย.2564 หลังจากทหารเข้าทำรัฐประหารเมื่อ 25 ต.ค.2564 ทั้งนี้ การลงนามในข้อตกลงเพื่อเปลี่ยนผ่านการปกครองไปสู่พลเรือน มีข้อตกลงทางการเมือง 14 ข้อ รวมถึงการเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองที่ถูกจับกุมระหว่างการทำรัฐประหารทั้งหมด และระบุว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของซูดานยังคงอยู่บนพื้นฐานของรัฐธรรมนูญปี 2562 ทั้งนี้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีมติเมื่อ 3 มิ.ย.2563 แต่งตั้งภารกิจ UN Integrated Transition Assistance Mission in Sudan (UNITAMS) เป็นกรณีพิเศษ เพื่อดูแลความเรียบร้อยในช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมืองของซูดาน การประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารของชาวซูดานในกรุงคาร์ทูม ทวีความรุนแรงขึ้นในปี 2565 โดยเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงปราบปรามผู้ประท้วงด้วยความรุนแรง มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ใช้กำลังรุนแรงเกินกว่าเหตุมากกว่าปี 2564 เกือบสามเท่า โดย ม.ค.-มิ.ย.2565 มีผู้เสียชีวิตจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่เกือบ 50 ราย
2)ข้อพิทาทการสร้างเขื่อน Grand Ethiopian Renaissance Dam (GERD) บนแม่น้ำ Blue Nile ของเอธิโอเปีย ระหว่างซูดาน อียิปต์ และเอธิโอเปีย โดยการเจรจาแก้ไขปัญหาข้อพิพาทยังไม่มีแนวโน้มคลี่คลาย
3)สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างกองทัพซูดานกับกองกำลัง RSF ที่ยังยืดเยื้อตั้งแต่ 15 เม.ย.2566 และส่งผลต่อการเลือกตั้งครั้งต่อไปของซูดาน ซึ่งก่อนหน้านี้มีกำหนดจัดการเลือกตั้งทั่วไปภายใน ก.ค.2566