สถานการณ์ความมั่นคงในเลบานอนยังวุ่นวายและตึงเครียดต่อเนื่อง หลังจากเกิดเหตุระเบิดเพจเจอร์พร้อมกันหลายเครื่อง ตามด้วยเหตุระเบิดวิทยุสื่อสารหรือ walkie-talkie ซ้ำ ทั้งในกรุงเบรุตและเมืองอื่น ๆ ระหว่าง 17-18 กันยายน 2567 ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 20 คน และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้งสมาชิกกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ และพลเรือน ทำให้เกิดความโกลาหล วิตกกังวล โกรธแค้น และชุมนุมประท้วงในเลบานอน เนื่องจากประชาชนต้องการแสดงความเสียใจและเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงครั้งนี้ ปัจจุบัน กลุ่มฮิซบุลลอฮ์เชื่อว่า อิสราเอลเป็นผู้ก่อเหตุระเบิดอุปกรณ์สื่อสารซ้ำ 2 ครั้ง
อิสราเอลยังไม่ยอมรับอย่างเป็นทางการ มีเพียงท่าทีของ Yoav Gallant รมว.กห.อิสราเอล เมื่อ 19 กันยายน 2567 ทื่ชื่นชมการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ทหารและหน่วยข่าวกรองของอิสราเอลในช่วงนี้ แต่ไม่ได้ระบุถึงเหตุระเบิดอุปกรณ์สื่อสารโดยตรง อย่างไรก็ตาม สื่ออิสราเอลรายงานอ้างความเห็นของเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ว่า นรม.เบนจามิน เนทันยาฮู อนุมัติปฏิบัติการดังกล่าวในการประชุมกับหน่วยความมั่นคงและหน่วยข่าวกรองไม่นานมานี้ เป้าหมายเพื่อทำลายระบบการสื่อสารและการสั่งการของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ในระยะยาว เพราะนอกจากการระเบิดเครื่องมือสื่อสารจะจำกัดเป้าหมายได้บางส่วนแล้ว ยังบ่อนทำลายความเชื่อมั่นและความปลอดภัยของกลุ่มติดอาวุธได้ สมาชิกกลุ่มจะรู้สึกว่าถูกแทรกซึมและ
อิสราเอลเตรียมความพร้อมรับมือกับการตอบโต้จากกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ โดยเคลื่อนย้ายกำลังทหารไปบริเวณพรมแดนอิสราเอล-เลบานอนมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ประกาศจะให้ความสำคัญกับการปกป้องความมั่นคงของอิสราเอลทางภาคเหนือ บริเวณพรมแดนอิสราเอล-เลบานอน โดย รมว.กห.อิสราเอลระบุว่าพร้อมจะทำสงครามระยะใหม่ กองทัพอิสราเอลต้องกล้าหาญและมุ่งมั่น เพื่อจะทำให้พื้นที่ภาคเหนือของอิสราเอลปลอดภัยมากขึ้น ท่าทีดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายของ นรม.เนทันยาฮูก่อนหน้านี้ที่ประกาศเพิ่มเป้าหมายในการทำสงคราม โดยกล่าวถึงการปกป้องพื้นที่บริเวณภาคเหนือให้ชาวอิสราเอลสามารถกลับเข้าไปอยู่ได้อย่างปลอดภัย พื้นที่ดังกล่าวติดกับพรมแดนเลบานอน และเป็นพื้นที่เสี่ยงปะทะกับกลุ่มฮิซบุลลอฮ์
นานาชาติติดตามเหตุการณ์นี้อย่างใกล้ชิด องค์กรสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติเรียกร้องให้มีการตั้งทีมงานสอบสวนกรณีนี้เป็นพิเศษ เนื่องจากการระเบิดอุปกรณ์สื่อสารสร้างความหวาดกลัวให้พลเรือน ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศชี้ว่าการใช้อุปกรณ์สื่อสารสังหารเป้าหมายโดยเสี่ยงสร้างความเสียหายต่อพลเรือนอาจเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากอุปกรณ์สื่อสารที่ระเบิดครั้งนี้บางส่วนไม่ใช่ของสมาชิกกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ ด้านสหรัฐฯ ประเมินการปฏิบัติการดังกล่าวว่าเป็นการฝังระเบิดซ่อนไว้ในอุปกรณ์สื่อสาร พร้อมอุปกรณ์ขณะที่บริษัท Gold Apollo ผู้ผลิตเพจเจอร์ในไต้หวัน ปฏิเสธความเกี่ยวข้อง พร้อมระบุว่า บริษัท BAC Consulting KFT ผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารในฮังการีเป็นผู้ผลิตและขายอุปกรณ์ดังกล่าว แต่รัฐบาลฮังการีปฏิเสธ ส่วนบริษัท Icom ผู้ผลิตวิทยุสื่อสาร ก็ปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นผู้ผลิตวิทยุรุ่น V-82 ที่ระเบิดในเหตุการณ์นี้ ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าผู้ก่อเหตุเตรียมการมานาน เพราะเป็นปฏิบัติการที่แนบเนียนและต้องระมัดระวังอย่างมาก ผู้ก่อเหตุต้องสามารถเข้าถึงอุปกรณ์สื่อสาร และต้องมีเทคโนโลยีระดับสูงมากพอที่จะทำให้อุปกรณ์ตอบสนองการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมั่นใจว่าเป้าหมายจะได้รับอุปกรณ์สื่อสารนี้ไปใช้งานจริง