ผลการสำรวจต่าง ๆ สะท้อนไทยผลิตแรงงานไม่ตรงกับความต้องการตลาด สื่อมวลชนรวบรวมข้อมูลผลการสำรวจด้านแรงงานของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ ในไทย อาทิ ผลสำรวจความต้องการแรงงานในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมของ BOI ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยปี 2566 ซึ่งต่างชี้ให้เห็นว่าไทยยังมีปัญหาขาดแคลนแรงงานที่ตรงกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะในสายงานอาชีวะ ทำให้ไทยไม่สามารถรองรับการขยายตัวของนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงมีความเสี่ยงที่จะขาดแคลนแรงงานบางสาขาในอนาคต
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังได้ชี้ว่าปัญหาระบบการศึกษาไทยที่ผลิตแรงงานไม่ตรงกับตลาด อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนเลือกลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านที่มีจำนวนแรงงานในสายงานที่ต้องการมากกว่า ส่วนในระยะยาวแรงงานไทยจะได้รับผลกระทบจากการพัฒนาเทคโนโลยีมาทำหน้าที่แรงงานแทน โดยข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และรายงานจากไอแอลโอ (World Employment and Social Outlook Trends: 2024) ประเมินว่า ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อตำแหน่งงานทั่วโลกประมาณร้อยละ 40 และอัตราการว่างงานในประเทศที่มีรายได้ต่ำจะอยู่ที่ร้อยละ 5.7 ซึ่งเพิ่มขึ้นและ ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศกลุ่มนี้กว้างขึ้นอีกด้วย
ที่มา
(ภาพจากไทยพีบีเอส)
https://www.thaipbs.or.th/news/content/335956
https://www.thansettakij.com/technology/technology/585867