การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของกลุ่มเนิร์ดผ่านสื่อบันเทิงและโซเชียลมีเดีย
เนิร์ด (Nerd) ตามพจนานุกรมฉบับ Oxford Advance Learner’s ได้ให้ความหมายของเนิร์ดเอาไว้ 2 รูปแบบด้วยกัน ความหมายแรกคือบุคคลที่แสนจะน่าเบื่อ งี่เง่า และเชยแหลก ในอีกความหมายหนึ่งคือ บุคคลที่บ้าคลั่งในคอมพิวเตอร์ ซึ่งภาพลักษณ์ในสังคมของเนิร์ดจะมากกว่าแค่ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ แต่มักจะเชี่ยวชาญในสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็น คณิต ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ แม้แต่ด้านภาษาก็นับได้ (อาจจะพ่วงความเป็นคนน่าเบื่อตามนิยามแรกมาด้วย) ถ้าจะให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น คือเด็กชายหรือเด็กหญิงใส่แว่นหนาเตอะ ก้มหน้าก้มตาอ่านหนังสือทุกพักกลางวัน คนที่คุณอาจจะมองเขาเป็นฮีโร่เมื่อต้องการลอกการบ้านหรือข้อสอบในวัยเรียน มิใช่ว่าเหล่าเนิร์ดจะถูกทำให้ดูแย่ในสื่ออย่างภาพยนตร์หรือการ์ตูน แต่ด้วยบทที่นำเนิร์ดไปเป็นตัวเอกในแนวโรงเรียนไฮสคูล เขาเหล่านั้นจะต้องถูกบูลลี่จากเหล่านักกีฬาโรงเรียนบ้าง หัวโจกบ้าง เชียร์ลีดเดอร์ตัวแม่บ้าง (กรณีเป็นเนิร์ดสาว) เพื่อเป็น Conflict ในชีวิตให้ตัวละคร ซึ่งรูปแบบนี้ก็ได้นำมาจากสังคมทางตะวันตกที่มองเนิร์ดจริง ๆ แต่ถ้าเป็นในประเทศไทยจะตรงกันข้าม เพราะคนมีความรู้อย่างเนิร์ดนี่แหละที่จะถูกเชิดชูในฐานะนักปราชญ์ เมื่อพูดถึงซีรี่ส์การ์ตูนต่อสู้ ระเบิดดวงดวงเผาจักรวาลอย่าง Dragon Ball ซึ่งเป็นที่รู้จักมายาวนานนั้น character เนิร์ดที่เรียกได้ว่าโด่งดังในระดับเป็นตัวเอกของเรื่องก็คือ “ซุนโกฮัง” ลูกชายคนโตของตัวเอกหลักอย่างโกคู ซึ่งในการกลับมาขึ้นสู่จอภาพยนตร์อีกครั้งของ Dragon Ball Super: Super Hero…