วิวัฒนาการความหิว : บทเรียนจากภาวะสงคราม
สงครามที่ทำให้โลกขาดแคลนแป้งสาลีและการส่งออกน้ำมัน ซ้ำยังเผชิญการชะงักงันของแหล่งผลิตจากนโยบาย zero covid ของจีน เศรษฐกิจทั่วโลกที่ฝืดเคือง ส่งผลกระทบให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารในระดับโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบในการทำอาหาร เพราะไม่สามารถเพาะปลูกได้เนื่องจากสภาพอากาศหรือแรงงานก็ตาม ส่งผลให้ประชาชนบางส่วนเริ่มลดการบริโภคอาหาร อดมื้อกินมื้อ เนื่องจากราคาอาหารที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาวะสงครามและภาวะเศรษฐกิจที่กำลังมุ่งเข้าสู่ความถดถอยและเงินเฟ้อที่ทำให้ข้าวของแพงขึ้น ตลอดจนการขาดแคลนวัตถุดิบที่เกิดจากการกีดกันทางการค้าเพื่อกดดันรัสเซียของกลุ่มประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทำให้เกิดความกังวลต่อการดำรงชีวิตของประขาชน จนหลายครอบครัวเริ่มที่จะรัดเข็มขัด ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น รวมไปถึงลดมื้ออาหารลงแล้วด้วย สำนักข่าวอังกฤษรายงานว่าชาวอังกฤษ 1 ใน 4 เริ่มลดอาหารหรืออดมื้อกินมื้อ ไม่สามารถรับประทานอาหารได้เท่ากับปกติ จริงๆ แล้วการจำกัดการรับประทานอาหารอาจเป็นแนวทางที่ดีต่อสุขภาพก็เป็นได้ !! ที่ผ่านมา ผู้ที่รับประทานอาหาร 1-2 มื้อต่อวันในปัจจุบันส่วนมากจะอยู่ในกลุ่มที่ลดน้ำหนักหรือกลุ่มที่ต้องการดูแลสุขภาพ ทั้งการทำแบบชั่วคราวระยะสั้นๆ เพื่อให้ถึงเป้าหมายน้ำหนักที่พวกเขาต้องการหรือทำระยะยาวตลอดชีวิต เนื่องจากเห็นผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการควบคุมเวลาในรับประทานอาหารที่รู้จักกันในชื่อการทำ “อีฟ” (Intermittent Fasting – IF) เป็นการจำกัดเวลาในการรับประทานอาหารและอดอาหารตามจำนวนชั่วโมง IF มีหลายรูปแบบตั้งแต่ 12-12 4-20 8-16 เป็นต้น นั่นหมายถึงการบริโภคอาหารได้ภายในเวลา 8 ชั่วโมง (ครอบคลุมจำนวน 1-2 มื้อ) และอดอาหาร…