อนาคตทางรอดของความมั่นคงทางอาหารโลก กับการปลูกพืชในอาคาร
การปลูกพืชในอาคาร หรือการปลูกพืชในห้องแลป กำลังเป็นที่สนใจและถือว่าเป็นทางรอดของแหล่งอาหารในอนาคต ในขณะที่สภาพแวดล้อมทั่วโลกเสื่อมโทรมลงเรื่อย ๆ ทั้งการขาดแคลนน้ำและปัญหาน้ำมีสารปนเปื้อน ดินเสื่อมโทรมปราศจากความอุดมสมบูรณ์ อากาศเต็มไปด้วยฝุ่นเจือปน ส่งผลกระทบต่อการปลูกพืชโดยธรรมชาติ โดยปกติเกษตรกรจะต้องหาพื้นที่ใหม่ๆ ในการเปิดหน้าดินเพื่อทำการเพาะปลูก แต่เมื่อพื้นที่กำลังลดลงไปเหลือแต่พื้นที่เสื่อมโทรม นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นการปลูกพืชในสภาพแวดล้อมปิดที่สามารถควบคุมแร่ธาตุอาหาร แสง และน้ำได้อย่างเหมาะสม เป็นการปลูกพืชในอาคารแบบซ้อนชั้น ที่จะช่วยลดปัญหาการขยายพื้นที่เพาะปลูกในแนวราบได้อีกด้วย การเพาะปลูกทั่วไป จะใช้น้ำในปริมาณมากกว่าที่ต้นไม้ต้องการ และสูญเสียไประหว่างการเพาะปลูก 10-50% เกษตรกรจึงต้องการใส่ปุ๋ยบำรุงดินในปริมาณมาก รวมถึงการหว่านเมล็ดพันธุ์เผื่อ เพื่อหวังผลเมล็ดที่จะโตและแข็งแรงพอที่จะให้ผลผลิตในปริมาณที่เพียงพอต่อไป แต่การเพาะปลูกในอาคาร จะมีขั้นตอนที่แตกต่างออกไป โดยมีการคัดแยกเมล็ดก่อนการเพาะปลูก ให้แร่ธาตุอาหารผ่านน้ำที่นำไปเลี้ยงพืช ด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ ตลอดจนให้แสงเฉพาะสีที่พืชต้องการ ได้แก่ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน ต่างจากแสงอาทิตย์ที่เป็นแสงขาวรวมทุกสี นอกจากนี้ยังสามารถให้แสงได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไร้กลางคืนทำให้พืชมีอัตราการเติบโตเร็วกว่าการปลูกพืชแบบทั่วไป และเมื่อภูมิอากาศหรือภูมิประเทศไม่ได้มีปัจจัยต่อการเพาะปลูก นั่นหมายความว่า… เกษตรกรจะสามารถปลูกพืชชนิดใดก็ได้ทั่วโลก เพิ่มความหลากหลายของอาหาร ลดการนำเข้า และสร้างโอกาสให้กับการเข้าถึงพืชผักที่มีประโยชน์สูง เช่น ผักเคล (Kale) แอปเปิ้ล ผักคะน้าฝรั่ง (Collard Greens) ผักแรดิชชิโอ อย่างไรก็ตาม…