พลังแห่งดวงจันทร์
เมื่อ 21 พฤศจิกายน 2564 ชาวเมียนมาจำนวน 21 คน ได้สูญหายไปในทะเลระหว่างการเดินทางไปทำบุญที่เจดีย์ไจ๊แน ซึ่งตั้งอยู่กลางเนินหินในทะเล ใกล้เมืองตาน-พยูซะยะ รัฐมอญ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากระหว่างที่ชาวเมียนมาเดินเท้าไปทำบุญ ก็เกิดน้ำทะเลหนุนสูงฉับพลันขึ้น อุบัติเหตครั้งนี้เกิดขึ้นในห้วงเดียวกับที่กรุงเทพมหานครเผชิญน้ำท่วมเฉียบพลันจากน้ำทะเลหนุนสูง โดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่น้ำทะเลหนุนสูงอย่างรวดเร็วจนทำให้น้ำจืดในแม่น้ำเจ้าพระยาไม่สามารถไหลระบายลงทะเลได้ ประกอบกับปริมาณน้ำเหนือหรือน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณมากอยู่แล้วจากปริมาณฝนที่ตกลงมาเกินความจุของแม่น้ำ น้ำจึงล้นตลิ่งเอ่อท่วมไปยังชุมชนจนได้รับความเดือดร้อนไปตาม ๆ กัน สถานการณ์เหล่านี้เป็นการส่งสัญญาณเตือนเราอีกครั้งว่า การบริหารจัดการน้ำที่ดีต้องมีทั้งการระบายน้ำ และต้องคำนึงถึงระยะเวลาของ “น้ำขึ้น-น้ำลง” ด้วย เนื้อเพลงท่อนหนึ่งที่คุ้นหูจาก เพลงลอยกระทง “…วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำก็นองตลิ่ง…” บ่งบอกว่า ในช่วงปลายปี ปริมาณของน้ำในแม่น้ำและคลองจะเอ่อเต็ม เนื่องจากน้ำฝนหลังฤดูฝนไหลลงมาเจอกับน้ำทะเลขึ้น และเป็นผลจากปรากฏการณ์ “น้ำขึ้น-น้ำลง” ที่น้ำถูกแรงดึงดูดของดวงจันทร์ (Tidal force) ดึงให้สูงขึ้นตามลักษณะการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ในรอบเดือน และเมื่อการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ใน 1 ปี ทำให้เกิดการเรียงตัวของ โลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ในแนวที่แตกต่างกัน ซึ่งแรงดึงดูดจากดวงอาทิตย์ก็จะช่วยเสริมให้เกิด น้ำขึ้น-น้ำลงที่รุนแรงมากขึ้นในแต่ละช่วงปี แม้ปรากฏการณ์ “น้ำขึ้น-น้ำลง” ที่เกิดจากดวงจันทร์จะทำให้ชุมชนริมน้ำต้องคอยระวังน้ำท่วม อย่างไรก็ดี ปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงมีประโยชน์ด้านอื่น ๆ เช่น กรณีอุบัติเหตุเรือบรรทุกสินค้าเอเวอร์…