ดวงตาเอไอ..เมืองอัจฉริยะและโอกาสของไทย
สังคมทั้งตื่นเต้นและวิตกกังวล เมื่อรู้ว่าหุ่นยนต์ได้รับพัฒนามากขึ้น จนมีการคาดการณ์ว่าหุ่นยนต์อาจจะเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์หลายล้านตำแหน่ง เพราะหุ่นยนต์ที่มีระบบการปฏิบัติการเอไอ (Artificial Intelligence-AI) หรือปัญญาประดิษฐ์ จะสามารถเรียนรู้คำสั่งจากมนุษย์ได้ และยังทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ตราบใดที่ยังมีการป้อนพลังงานอย่างต่อเนื่อง ก็จะประมวลผลข้อมูลจำนวนมากได้อย่างเถรตรง!! ความสามารถของเทคโนโลยีเอไอ ทำให้นึกย้อนไปถึงช่วงยุคสมัยที่มนุษย์เราคิดค้นและผลิตเครื่องยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมได้ยุคแรก ๆ ต่อมา เทคโนโลยีก็เข้าไปแทนที่แรงงานมนุษย์ อุตสาหกรรมต่าง ๆ นำเครื่องจักรเข้าไปแทนที่แรงงานมนุษย์ ทั้งในโรงงานผลิตสินค้า รวมทั้งในภาคเกษตรกรรม… ความเปลี่ยนแปลงในตอนนั้นยังไม่มีสื่อสังคมออนไลน์มาสร้างความตระหนักรู้ให้มนุษย์เราตื่นตัวเรื่องความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้น ความกังวลของมนุษย์ในยุคนั้นสะท้อนผ่านการรวมกลุ่มแรงงานเป็นสหภาพปกป้องสิทธิแรงงาน แนวคิดความมั่นคงมนุษย์ที่เติบโตขึ้นในวงการวิชาการความมั่นคง และภาพยนตร์แนวไซไฟ (Sci-fi) ที่ทำให้เราเห็นความเป็นไปได้ที่หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรจะเข้าไปแทนที่มนุษย์ได้ แต่ในภายหลัง…มนุษย์เราเคยชินกับการอยู่กับเครื่องจักรเหล่านั้น และยังสามารถควบคุมความสามารถส่วนใหญ่ของเครื่องจักรเหล่านั้นได้ จึงเกิดความสบายใจและยุคสมัยของการเร่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น แต่สถานการณ์ในตอนนี้ได้เปลี่ยนไป …ความกังวลเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ที่มีความสามารถมากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการเรียนรู้ ทำให้ “เอไอ” กลายเป็นทั้งเรื่องสนุกและเรื่องท้าทายมากขึ้นกว่าเดิม ความน่าสนใจของเอไอและหุ่นยนต์มีมากกว่าเรื่องความสามารถ เพราะหน้าตา หรือ design ที่เป็นได้หลายแบบ ไม่จำเป็นต้องมีหน้าตาเหมือนมนุษย์ เดิน 2 ขา เปล่งเสียงจากปากเพื่อการเจรจา หรือเฝ้ามองมนุษย์ด้วยดวงตา ซึ่งเสมือนการรวมลำโพง กล้อง และคอมพิวเตอร์มาอยู่ในร่างเดียว ลองคิดดูดี…