พัฒนาระบบผลิตเกลือไทยไปตลาดโลก
เกลือเป็นแร่ธาตุตามธรรมชาติที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น “ทองคำขาว” เพราะคุณค่าและคุณสมบัติในตัวเอง ทั้งใช้ในการอุปโภคและบริโภค ไม่ว่าจะเป็นการปรุงอาหาร หมักดอง แปรรูป การรักษาทางการแพทย์ การย้อมผ้า ผลิตสบู่ ผงซักฟอก และหมึกพิมพ์ เกลือยังถูกใช้ทุกวงการ ตั้งแต่ระดับครัวเรือนจนถึงอุตสาหกรรม การใช้เกลือนั้น สันนิษฐานว่าเริ่มขึ้นกว่า 6,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวอียิปต์โบราณเริ่มรู้จักการนำเกลือทะเลบริเวณชายฝั่งมาใช้ รวมทั้งมีร่องรอยหลักฐานการใช้เกลือในการทำมัมมี่ด้วยเช่นกัน ในอดีต ประเทศไทยก็ใช้เกลือสมุทรเป็นหลัก ทั้งใช้ในประเทศและส่งออก ซึ่งส่งออกเป็นอันดับที่ 28 ของโลก อุปสรรคก็คือ กำลังการผลิตจากพื้นที่ที่มีจำกัด เนื่องจากผลิตได้ในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล เฉพาะฝั่งอ่าวไทยเท่านั้น ได้แก่ เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และปัตตานี นอกจากนี้ ถึงแม้ประเทศไทยจะมีพื้นที่ทะเลติดชายฝั่งทะเล 1,093.14 กิโลเมตร แต่การที่การทำนาเกลือต้องอาศัยลักษณะของพื้นที่ชายฝั่งที่มีความราบ เพื่อส่งน้ำทะเลขึ้นชายฝั่ง ทำให้ชายฝั่งทะเลอันดามันที่มีลักษณะเป็นอ่าวลึกและมีฝนตกชุก ไม่สามารถทำนาเกลือได้ ประกอบกับการขยายตัวของเมืองที่ทำให้ที่ดินมีราคาสูงขึ้น ทำให้ที่ดินที่ใช้ทำนาเกลือ ถูกเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ทั้งเชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรม และที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำนาเกลือของประเทศไทยลดลง ผู้ผลิตเกลือส่วนใหญ่ได้หันไปใช้เกลือสินเธาว์ที่ได้จากการทำเหมืองเกลือของชั้นหินเกลือในแผ่นดินอีสาน ในแอ่งเกลือสกลนคร และแอ่งเกลือโคราชที่ครอบคลุมพื้นที่ไม่ต่ำกว่า…