ความสวยงามถือเป็นเรื่องอัตวิสัยในสังคมไม่มีนิยามที่แน่ชัด แตกต่างกันไปตามทัศนะ สภาพแวดล้อม หรือปัจจัยอื่น ๆ แต่ในขณะเดียวกันในสังคมที่เราอาศัยอยู่ในปัจจุบันกลับมีบรรทัดฐานบางอย่างที่ตัดสินว่าความสวยงามนั้นต้องมีลักษณะอย่างไร และแบบไหนที่เรียกว่า “สวย” ความสวยเหล่านี้กลายมาเป็นมาตรฐานสังคมและทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “Beauty Standard” โดยนิยามของคำว่า Beauty Standard หมายถึง มาตรฐานความสวยที่เกิดขึ้นภายในสังคมกับคนทุกเพศที่ถูกกำหนดไว้ ซึ่งคนภายในสังคมนั้นให้คุณค่ากับบุคคลที่ตรงกับมาตรฐานดังกล่าวที่ตั้งขึ้นอาจหมายถึงรูปลักษณ์ภายนอกทั้งหมด Beauty Standard ยังพัฒนาไปตามค่านิยมของแต่ละยุคสมัย ในแต่ละสังคมเองก็มีมาตรฐานความสวยงามที่แตกต่างกันออกไปตามวัฒนธรรมของตน แต่ผู้คนส่วนใหญ่มักจะชื่นชอบมาตรฐานความสวยของสังคมของตนมากกว่าสังคมอื่น ๆ Beauty Standard มักนำไปสู่ Beauty Privilege คือการได้รับอภิสิทธิ์บางอย่างเพียงเพราะมีรูปลักษณ์ที่อยู่ใน Beauty Standard ไม่ว่าความรัก ความดูแลเอาใจใส่ ทั้ง ๆ ที่ทุกคนควรจะได้รับเท่ากัน ยิ่งไปกว่านั้นอาจหมายถึงการได้รับโอกาสในชีวิต หน้าที่การงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยภายในสังคม ในสังคมไทยที่ครั้งหนึ่งเคยมีการวิจัยในประเทศไทยว่าผู้หญิงไทยถึง 66% มีความกดดันและกังวลในรูปลักษณ์ภายนอกของตนเอง แม้ว่าผู้หญิงไทยจะใช้เวลาในการดูแลเรื่องความงามในแต่ละวันนานถึง 24 นาที ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของผู้หญิงทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้เวลาราว 19 นาที และปัจจุบันมีเพียง 1% ของผู้หญิงไทยที่มีความมั่นใจในความสวยงามของตนเองและกล้านิยามว่าตนเองตรงตาม Beauty Standard ดังนั้นจึงมีคนกลุ่มหนึ่งทำพยายามทำตัวเองเพื่อตรงตามมาตรฐานของสังคมในเรื่องของความสวยงาม เช่นใช้ครีมบำรุงผลิตภัณฑ์ความงาม หรือรับประทานอาหารเสริม…