ขยะคืออะไร….. ไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะเราทุกคนต่างก็เป็นได้ทั้งผู้ผลิตและผู้ทิ้งขยะ และยิ่งผลิตมากขึ้นตามระดับการอุปโภค บริโภค และการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจําวันของเรา ดังนั้นจึงไม่แปลกที่หลายครั้งเราจะเห็นภาพภูเขาขยะกองโตและบ่อขยะหลุมใหญ่ในบางพื้นที่ที่ชวนให้คิดว่า…… เราจะจัดการกับขยะยังไงที่นับวันจะมีมากขึ้นทั้งประเภทและปริมาณ เป็นที่รู้กันว่า ขยะมูลฝอยแบ่งตามลักษณะทางกายภาพได้เป็น ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป และขยะอันตราย รวมถึงขยะหน้าใหม่ที่จะเป็นปัญหามากขึ้นในยุคดิจิทัลคือ …..ขยะอิเล็กทรอนิกส์ และด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ประกอบกับความสามารถในการออกแบบและสร้างสรรค์ของผู้ผลิตในธุรกิจต่าง ๆ ในปัจจุบัน เราจึงเห็นร่างใหม่ของขยะที่ผ่านกระบวนการแปลงร่างไม่ว่าจะเป็นรีไซเคิล หรืออัพไซเคิล เพื่อทำให้ของเหลือทิ้งเช่นขยะ กลับมีคุณค่าและเพิ่มมูลค่ากลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่หลากหลายประเภท อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะแปลงร่างขยะด้วยวิธีการใด กระบวนการที่นำมาใช้จะมีส่วนปล่อยมลพิษ ออกสู่สิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่าง ๆ….. จึงน่าสงสัยว่า การแปรสภาพขยะเป็นงานดีไซน์เพื่อนำกลับใช้ใหม่จะตอบโจทย์กระแสรักษ์โลกได้มากน้อยเพียงใด ขณะที่ข่าวการลักลอบขนย้ายกากแคดเมียม ตามมาด้วยเหตุรั่วไหลและไฟไหม้โรงงานเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายหลายแห่งในช่วง 2-3 เดือนมานี้ ที่สร้างความหวาดวิตกให้ประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ใกล้เคียง ถึงมาตรฐานความปลอดภัยและผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งต่อคุณภาพชีวิตตัวเองและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับมาตรการจัดการกับขยะของไทย ไม่เฉพาะขยะอันตราย ที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนสารอันตราย วัตถุมีพิษ วัตถุกัดกร่อน วัตถุติดเชื้อ และวัตถุไวไฟเท่านั้น เพราะไทยไม่เพียงแต่มีขยะในประเทศจำนวนมากแล้ว แต่ไทยยังเป็นหนึ่งในประเทศที่รองรับขยะจำนวนมากจากต่างประเทศด้วย ที่ผ่านมาไทยไม่มีมาตรการควบคุมหรือจำกัดการนำเข้า โดยเพิ่งจะมีนโยบายกำกับการนำเข้าเศษพลาสติกเมื่อต้นปี 2566 ซึ่งเป็นการห้ามนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศหลังจาก 31…