INT Podcast EP 128 : วิเคราะห์ความมั่นคงการเมืองเวียดนาม
วิเคราะห์ความมั่นคงการเมืองเวียดนาม หลังจากประธานาธิบดีลาออก!! จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง…ชาวเวียดนามรู้สึกอย่างไร? ลองฟังกันครับ
วิเคราะห์ความมั่นคงการเมืองเวียดนาม หลังจากประธานาธิบดีลาออก!! จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง…ชาวเวียดนามรู้สึกอย่างไร? ลองฟังกันครับ
สหรัฐอเมริกาเริ่มปรับท่าทีต่ออิสราเอลในกรณีความรุนแรงในฉนวนกาซา โดยเพิ่มแรงกดดันมากขึ้น สังเกตจากการที่อาจร่วมมือกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) เห็นชอบมติสนับสนุนให้มีการหยุดยิงชั่วคราวเพื่อเปิดทางให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยเร็ว ทั้งที่ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ จะไม่เห็นชอบมติของ UNSC ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับข้อตกลงหยุดยิง เนื่องจากเชื่อว่าจะไม่เป็นผลดีต่อการป้องกันตนเองของอิสราเอล รวมทั้งจะมีท่าทีสนับสนุนการตัดสินใจของ นรม.อิสราเอล ที่ยืนยันจะปฏิบัติการทางทหารเพื่อปราบปรามกลุ่มฮะมาสในฉนวนกาซา
The Intelligence Podcast ชวนสรุปผลการประชุมระดับโลกเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย ที่เกาหลีใต้ ..อะไรคือไฮไลท์ของปีนี้ และไทยจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง?! ไปฟังกันครับ
สรุปไฮไลท์จากการประชุม 2 สภาของจีน รัฐบาลจีนวางแผนอย่างไรในเรื่องเศรษฐกิจ การพัฒนา การต่างประเทศ และผู้นำคนปัจจุบันบ้าง!? ไปฟังกันครับ
หน่วยข่าวกรองออสเตรเลียกังวลกับ “อันตราย” จากเรื่องอะไรมากที่สุด?! จะเป็นเรื่องก่อการร้าย หรือ spy จากต่างประเทศ? ลองฟังกันจาก The Intelligence Podcast ตอนที่ 125
กรณีผู้นำอิสราเอลอนุมัติและยืนยันแผนการส่งกองทัพเข้าไปบุกโจมตีพื้นที่ Rafah ทางตอนใต้ของฉนวนกาซา ทำให้นานาชาติวิตกว่าจะทำให้วิกฤตด้านมนุษยธรรมในพื้นที่รุนแรงมากขึ้น เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่ของผู้อพยพชาวปาเลสไตน์จำนวนมาก ที่ยังรอความช่วยเหลือ โดยสื่อต่างประเทศนำเสนอมุมมองของนักวิชาการและสถาบัน Think Tank ที่ประเมินว่าการบุกโจมตีนี้จะทบั่นทอนความน่าเชื่อถือและบทบาทของอิสราเอลในประชาคมระหว่างประเทศ ด้าน นรม.เบนจามิน เนทันยาฮู ยืนยันเมื่อ 19 มี.ค.67 ว่าอิสราเอลจำเป็นต้องปฏิบัติการ แม้สหรัฐฯ และนานาชาติจะไม่เห็นด้วย เพื่อทำลายฐานที่มั่นและกำลังของกลุ่มฮะมาสที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว
ฮือฮาทันที เมื่อสภาผู้แทนสหรัฐผ่านร่างกฎหมายที่บังคับให้บริษัทไบ้ท์แด้นซ์ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติจีนที่เป็นเจ้าของติ๊กต็อกในอเมริกาต้องขายติ๊กต็อกให้กับบริษัทอื่นที่ไม่เชื่อมโยงกับจีนภายใน 6 เดือน จากนี้ไปเมื่อสภาสูงผ่านร่างกฎหมายดังกล่าว ประธานาธิบดีไบเดนบอกว่าจะเซ็นประกาศใช้เป็นกฎหมายทันที
ช่วงนี้มี 2 เหตุการณ์ที่ชวนให้คนคิดว่าสงครามรัสเซียกับยูเครนมีโอกาสยกระดับขึ้นเป็นสงครามนิวเคลียร์หรืออาจเลยเถิดเป็นสงครามโลกครั้งที่ 3 เชียวหรือ? เรื่องมันเริ่มจากเมื่อปลายเดือนที่แล้วที่ประธานาธิบดีมาครงของฝรั่งเศสออกมาพูดว่าจะไม่ตัดทิ้งทางเลือกที่จะส่งกองกำลังของประเทศตะวันตกเข้าไปช่วยยูเครน พูดเท่านั้นคนก็ตกใจกันใหญ่ว่านาโต้จะรบกับรัสเซีย !?! ซึ่งยังไม่ทันไรก็มีเสียงค้านทันทีจากอังกฤษ เยอรมันและฝ่ายค้านของฝรั่งเศสจนมาครงเองต้องออกมาแก้เกี้ยวว่าเป็นความเห็นและการหยั่งเชิง ไม่ได้หมายถึงว่าเป็นมติของนาโต้ที่จะส่งทหารไปรบหากแต่เป็นเพียงการฝึกอบรม แต่ไม่ว่าใครจะว่าอย่างไร หัวหน้าหน่วยข่าวกรอง SVR ของรัสเซีย หรืออดีต KGB ก็ออกมาสวนกลับว่าการพูดของมาครงเป็นความไม่รับผิดชอบและเป็นอันตรายอย่างยิ่งซึ่งนัยยะหมายถึงรัสเซียจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ตอบโต้หากว่านาโต้ใช้กำลังรบช่วยยูเครนตามที่ประธานาธิบดีปูตินเคยบอกไว้ว่าเมื่อนั้นก็จะถึงจุดจบของอารยธรรม
The Intelligence Podcast ตอน “ปูตินกับเก้าอี้แห่งอำนาจ : การเลือกตั้ง 2024” เกาะติดการเลือกตั้งรัสเซีย และวิเคราะห์อนาคตทางการเมืองของปูติน
สื่อต่างประเทศรายงานสถานการณ์ความรุนแรงในฉนวนกาซา โดยเมื่อ 15 มี.ค.67 มีรายงานว่ากองทัพอิสราเอลโจมตีชาวปาเลสไตน์ ระหว่างรอความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ในพื้นที่ตอนเหนือของ Gaza City ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 คน และได้รับบาดเจ็บมากกว่า 150 คน แนวโน้มการปะทะและการโจมตีทางทหารจะยังไม่ยุติ เนื่องจากคู่ขัดแย้งยังไม่บรรลุข้อตกลงหยุดยิงชั่วคราว แม้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม นานาชาติพยายามมีส่วนร่วมในการยุติความรุนแรงและความเสียหายจากความขัดแย้ง โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ร่างมติเรียกร้องให้มีการหยุดยิงระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮะมาส เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนตัวประกัน และลำเลียงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำหรับมติของ UNSC จะผ่านได้ต่อเมื่อได้รับการรับรองจาก 9 ประเทศ และไม่มีประเทศในกลุ่มสมาชิกถาวร 5 ประเทศคัดค้าน ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ