รายงานสถานการณ์ความขัดแย้งอิสราเอล-กลุ่มฮะมาสรอบใหม่
การสู้รบเริ่มขึ้นเมื่อไหร่ ที่ไหน และอะไรคือเป้าหมายของทั้ง 2 ฝ่าย !? นานาชาติมีท่าทีต่อสถานการณ์นี้อย่างไร? ติดตามได้ใน The Intelligence Hot Issues : ประเด็นความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ปี 2566
การสู้รบเริ่มขึ้นเมื่อไหร่ ที่ไหน และอะไรคือเป้าหมายของทั้ง 2 ฝ่าย !? นานาชาติมีท่าทีต่อสถานการณ์นี้อย่างไร? ติดตามได้ใน The Intelligence Hot Issues : ประเด็นความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ปี 2566
ความตึงเครียดระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ที่ปัจจุบันกำลังปะทุขึ้นเป็นสงครามระหว่างกองทัพอิสราเอลกับกลุ่มฮะมาส ระหว่าง 7-9 ตุลาคม 2566 นั้นมีเหตุการณ์ในอดีตที่สะสมมาตั้งแต่ประวัติศาสตร์เป็นเหตุผลสำคัญ นอกจากนี้ มีความเป็นไปได้ที่เหตุปะทะและความขัดแย้งตลอดปี 2566 ก็เป็นชนวนที่ทำให้กลุ่มฮะมาสสะสมความไม่พอใจถึงกับประกาศว่า “ปฏิบัติการทางการทหารครั้งนี้เป็นครั้งสำคัญ เพื่อให้นานาชาติตระหนักว่าจะไม่มีการกดขี่คุกคามชาวปาเลสไตน์อีกต่อไป” ขณะที่กองทัพอิสราเอลประกาศว่า “จะทำให้กลุ่มฮะมาสหมดความชอบธรรมและอำนาจในการควบคุมปกครองฉนวนกาซา” อาจกล่าวได้ว่าสถานการณ์ความรุนแรงในปัจจุบันนี้มีทั้งเหตุการณ์ในอดีต
สถานการณ์การโจมตีและความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างกองทัพอิสราเอลกับกลุ่มฮะมาส กองกำลังปกป้องสิทธิเสรีภาพของชาวปาเลสไตน์ระหว่าง 7-9 ต.ค.66 ยังไม่ยุติและมีแนวโน้มจะสร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในพื้นที่อิสราเอลและฉนวนกาซา ซึ่งเป็นพื้นที่ปะทะหลัก ๆ ของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่กลุ่มฮะมาสเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิของชาวปาเลสไตน์ ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการต่อสู้และเฝ้ารอเพื่อที่จะได้มีดินแดนอธิปไตยเป็นของตัวเอง
ประชาคมระหว่างประเทศติดตามสถานการณ์ความรุนแรงอิสราเอล-ปาเลสไตน์รอบ ต.ค.66 อย่างใกล้ชิด เนื่องจากวิตกว่าการปะทะจะลุกลามบานปลายเป็นสงครามที่ยืดเยื้อและสร้างความเสียหายให้กับทั้ง 2 ฝ่าย นอกจากนี้ นานาชาติยังวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของพลเมืองตนเองที่อยู่ในพื้นที่สู้รบ จึงมีการใช้กลไกการทูตและการสื่อสารผ่านทุกช่องทางเพื่อประสานงาน และแจ้งเตือนให้พลเมืองของตนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยเพิ่มความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการตกเป็นเป้าหมายจากสถานการณ์ความรุนแรงในครั้งนี้
เกิดการสู้รบตอบโต้กันไปมาระหว่างกองทัพอิสราเอลกับกลุ่มฮะมาส ซึ่งเป็นกองกำลังที่เคลื่อนไหวเพื่อปกป้องชาวปาเลสไตน์ เหตุปะทะรุนแรงล่าสุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเช้าตรู่ของ 7 ต.ค.66 มีรายงานว่า กลุ่มฮะมาส ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธที่ปกป้องสิทธิและเสรีภาพของชาวปาเลสไตน์ เริ่มปฏิบัติการทางการทหารที่เรียกชื่อว่า “Al-Aqsa Flood” ด้วยยุทธวิธีหลากหลายรูปแบบ เพื่อโจมตีอิสราเอล สำหรับเหตุผลที่ทำให้กลุ่มฮะมาสต้องบุกโจมตีครั้งนี้
ชาวอเมริกันหลายรายเสียชีวิตจากการสู้รบตอบโต้กันไปมาระหว่างกองทัพอิสราเอลกับกลุ่มฮะมาส ซึ่งเป็นกองกำลังที่เคลื่อนไหวเพื่อปกป้องชาวปาเลสไตน์ โดยโฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ได้ออกมายืนยันรายงานดังกล่าว หลังจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ให้ข้อมูลก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ได้ให้ความมั่นใจกับชาวอเมริกันว่า จะทำงานร่วมกับอิสราเอล ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ และกับคนในพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือชาวอเมริกันที่บาดเจ็บ และที่ถูกจับไปเป็นตัวประกัน รวมทั้งข้อมูลของชาวอเมริกันที่เสียชีวิต
จากการตรวจสอบเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เมื่อ 9 ต.ค.66 พบว่า สหรัฐฯ ยังเห็นว่าสถานการณ์ในอิสราเอลยังไม่สามารถคาดเดาได้ พร้อมเตือนชาวอเมริกันให้เพิ่มความระมัดระวัง และติดต่อ สอท.อย่างใกล้ชิดด้วยการใช้แบบฟอร์มที่ ในเว็บไซต์ในช่วงที่เกิดวิกฤติ ส่วนชาวอเมริกันที่ต้องการออกจากอิสราเอล ควรตรวจสอบสถานการณ์บริเวณข้ามแดน และเที่ยวบินอย่างใกล้ชิดเช่นกัน นอกจากนี้ ยังแนะนำให้ติดตามข่าวสารการใช้อาวุธตอบโต้อย่างใกล้ชิด
ในช่วง 8 ต.ค.66 มีรายงานจากสื่อสหรัฐฯ ว่า กลุ่มเคลื่อนไหวที่สนับสนุนปาเลสไตน์ และชาวมุสลิมในสหรัฐฯ เคลื่อนไหวสนับสนุนกลุ่มฮะมาส และประณามการกระทำของอิสราเอลที่ทำให้เกิดผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก เช่น US Council of Muslim Organizations และ The Council on American-Islamic Relations (CAIR) ซึ่ง CAIR ได้ประกาศว่าจะสนับสนุนสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของชาวปาเลสไตน์ ส่วนกลุ่มนักศึกษา ที่เรียกว่า Students for Justice in Palestine ในมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ เช่น American University และ University of Minnesota ก็ออกมาชุมนุม เพื่อต่อต้านการกระทำของอิสราเอล
มีรายงานล่าสุดว่ากรณีความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ ทำให้รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ระบุเมื่อ 8 ต.ค.66 ว่า กองเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Gerald R. Ford กำลังมุ่งหน้าไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นอกจากนี้ ทำเนียบประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะส่งทหารเพิ่มเติมไปยังอิสราเอล ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กำลังรวบรวมรายงานเกี่ยวกับชาวอเมริกันที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งการถูกจับเป็นตัวประกัน แต่ยังไม่ได้ยืนยันความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างอิหร่านกับเหตุการณ์ครั้งนี้
ไปทำความรู้จักระบบเตือนภัยสาธารณะของเกาหลีใต้ หรือระบบ KPAS กัน!! และชวนคิดว่าระบบนี้จะเป็นโมเดลให้ไทยพัฒนาระบบแจ้งเตือนเพื่อความปลอดภัยสาธารณะได้หรือไม่?! ติดตามได้ใน The Intelligence Podcast ตอนที่ 81