INT Podcast EP 85 : ทำความรู้จัก “ซูเปอร์แอป”
ไปทำความรู้จัก Super App ผ่าน 4 คำถาม…ที่จะทำให้คุณเข้าใจและพร้อมใช้งาน Super App อย่างปลอดภัยมากขึ้น ใน The Intelligence Podcast ตอนที่ 85 ทำความรู้จัก “ซูเปอร์แอป”
ไปทำความรู้จัก Super App ผ่าน 4 คำถาม…ที่จะทำให้คุณเข้าใจและพร้อมใช้งาน Super App อย่างปลอดภัยมากขึ้น ใน The Intelligence Podcast ตอนที่ 85 ทำความรู้จัก “ซูเปอร์แอป”
กองทัพอิสราเอลยังโจมตีทางอากาศต่อกลุ่มฮะมาสในพื้นที่ฉนวนกาซาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด (25 ต.ค.66) มีรายงานว่า การโจมตีของกองทัพอิสราเอลในช่วงเวลากลางคืน ทั่วทั้งทางตอนเหนือและตอนใต้ของฉนวนกาซา ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก สถานการณ์การสู้รบที่ยังไม่ยุติทำให้นานาชาติเร่งผลักดันให้คู่ขัดแย้งหยุดยิงชั่วคราว เพื่อลำเลียงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเข้าไปในพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันดำเนินการผ่านพรมแดนอียิปต์ ที่ Rafah โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) จะจัดการประชุมเพื่อหารือสถานการณ์ในตะวันออกกลาง สหรัฐฯ และรัสเซียเสนอให้สหประชาชาติเป็นกลไกกลางในการช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ กาตาร์อยู่ระหว่างเจรจาช่วยเหลือตัวประกันจากฉนวนกาซา โดยเฉพาะเด็กและสตรี
ผู้นำออสเตรเลียเยือนสหรัฐฯ เพื่อเร่งผลักดันความร่วมมือ AUKUS ที่อาจกำลังเผชิญความท้าทาย!! ออสเตรเลียจะทำสำเร็จหรือไม่ อนาคตของ AUKUS จะเป็นยังไง ติดตามได้ใน The Intelligence Podcast ตอน “3 เหตุผลที่ผู้นำออสเตรเลียต้องเร่งผลักดัน AUKUS”
เคยสงสัยไหมว่า “สันดอนโธมัสที่ 2” หรือ Second Thomas Shoal พื้นที่ที่ฟิลิปปินส์กับจีนกำลังโต้เถียงกันนี้ตั้งอยู่ตรงไหนในทะเลจีนใต้ รูปร่างหน้าตาเป็นยังไง ทำไม 2 ประเทศถึงแย่งชิงพื้นที่แห่งนี้ !? ร่วมหาคำตอบได้ใน The Intelligence Podcast ตอนที่ 83 ทำความรู้จักสันดอนโธมัสที่ 2 จุดขัดแย้งระหว่างฟิลิปปินส์กับจีน”
สถานการณ์สู้รบและปะทะระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮะมาสในฉนวนกาซาและอิสราเอลยืดเยื้อเป็นสัปดาห์ที่ 3 ปัจจุบัน (24 ต.ค.66) อิสราเอลเดินหน้าปฏิบัติการโจมตีทางอากาศในฉนวนกาซาเพื่อปราบปรามกลุ่มฮะมาส ขณะเดียวกันก็เริ่มปฏิบัติการโจมตีในเลบานอน เพื่อปราบปรามกองกำลังติดอาวุธที่สนับสนุนกลุ่มฮะมาส ด้านกลุ่มฮะมาสทยอยปล่อยตัวประกันอย่างน้อย 4 คน ได้แก่ ชาวอเมริกัน 2 คน และชาวอิสราเอล 2 คน คาดว่าเพื่อลดแรงกดดันจากนานาชาติ เนื่องจากยังมีรายงานการชุมนุมประท้วงเพื่อกดดันกลุ่มฮะมาสให้ปล่อยตัวประกันทั้งหมดโดยเร็ว
กองทัพอิสราเอลประกาศเมื่อ 20 ต.ค.66 ให้ชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซาเร่งอพยพไปบริเวณทางตอนใต้ เพื่อรับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ส่งเข้าพื้นที่ผ่านพรมแดนคาบสมุทรไซนายของอียิปต์ กับฉนวนกาซา ขณะเดียวกัน อิสราเอลก็ยังปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อฉนวนกาซาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีรายงานจำนวนผู้เสียชีวิตในฉนวนกาซาประมาณ 3,480 ราย ได้รับบาดเจ็บ 12,000 ราย ส่วนการปะทะและการต่อสู้ในเขตเวสต์แบงก์ระหว่างกองทัพอิสราเอลกับกองกำลังต่อต้านอิสราเอล ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 69 ราย ได้รับบาดเจ็บ 3,800 ราย
สถานการณ์สู้รบและความรุนแรงในฉนวนกาซา-อิสราเอลตึงเครียดต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังเกิดเหตุโจมตีโรงพยาบาล Al-Ahli ในฉนวนกาซาเมื่อ 17 ต.ค.66 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 500 คน หลายฝ่ายคาดว่าเป็นการโจมตีของกองทัพอิสราเอล ด้านอิสราเอลปฏิเสธและระบุว่าเป็นความสูญเสียที่เกิดจากการโจมตีผิดพลาดของกองกำลังติดอาวุธในฉนวนกาซา อย่างไรก็ดี อิสราเอลยังไม่ยุติปฏิบัติการโจมตีทางอากาศและการยิงขีปนาวุธเข้าไปในฉนวนกาซา เพื่อปราบปรามกลุ่มฮะมาส ส่งผลให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายงานใน 19 ต.ค.66 ว่ามีผู้เสียชีวิตจากความรุนแรงครั้งนี้ตั้งแต่ 7 ต.ค.66 อย่างน้อย 4,900 คนแล้ว
สงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ครั้งเลวร้ายที่สุดครั้งนี้ ตั้งแต่ 7 ต.ค.-ปัจจุบัน ทำให้สังคมอเมริกันที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติ และให้เสรีภาพในการแสดงออกอย่างเต็มที่ในทุกเชื้อชาติ ทุกเพศ ทุกวัย มีแนวโน้มจะเผชิญกับอาชญากรรมที่มาจากการเกลียดชัง (hate crime) เพิ่มขึ้น จากที่มีรายงานข่าวกันเป็นระยะ ๆ ในสังคมอเมริกันว่าเป้าหมายของ hate crime ได้แก่ คนผิวสี (เป้าหมายอันดับ 1 ที่เผชิญกับ hate crime) คนเอเชีย คนยิว และคนมุสลิม เป็นต้น
นานาชาติไม่เห็นด้วยกรณีมีรายงานว่ากองทัพอิสราเอลทิ้งระเบิดบริเวณโรงพยาบาล Al-Ahli ใน Gaza City ฉนวนกาซา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 500 คน ส่วนมากเป็นพลเรือนชาวปาเลสไตน์ อย่างไรก็ตาม กองทัพอิสราเอลปฏิเสธว่าอยู่เบื้องหลังการโจมตีดังกล่าว และระบุว่าเป็นการโจมตีของกลุ่มฮะมาสที่ล้มเหลว ด้านกลุ่มฮะมาสระบุว่าการโจมตีดังกล่าวทำให้ทั่วโลกเห็นความโหดร้ายของอิสราเอล และเหตุการณ์นี้จะเป็นจุดเปลี่ยนของสถานการณ์ปัจจุบัน หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีรายงานกลุ่มผู้ประท้วงคัดค้านปฏิบัติการของอิสราเอลในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะบริเวณหน้าสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลในประเทศต่าง ๆ ปัจจุบัน (18 ต.ค.66) ยังไม่มีรายงานเหตุรุนแรงจากการประท้วง
การโจมตีทางไซเบอร์กำลังเป็นเครื่องมือที่แฮ็กเกอร์ใช้ในการแสดงออกว่าสนับสนุนอิสราเอลหรือปาเลสไตน์ ในช่วงที่มีสถานการณ์สงครามในฉนวนกาซาและอิสราเอล และมีเพิ่มขึ้น เป้าหมายเพื่อบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงข้าม ขัดขวางหรือก่อกวนการดำเนินการของฝ่ายตรงข้าม รวมทั้งแสดงการสนับสนุนฝ่ายตนเอง รูปแบบที่เกิดขึ้นมากที่สุด คือ การโจมตีด้วยการส่งข้อมูลปริมาณมากพร้อมกัน เพื่อให้เว็บไซต์เป้าหมายทำงานไม่ได้ หรือ DDoS Attack ซึ่งเป็นรูปแบบการโจมตีที่ไม่ซับซ้อนหรือต้องใช้ความรู้ด้านเทคนิคสูงมาก